กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานใช้ตำแหน่งที่ใหญ่กว่ามารังแก… มาอ่านกันว่าเจอแบบนี้มีกฎหมายอะไรคุ้มครองผู้น้อยแบบเราๆบ้าง ?

20 January 2025
ใช้ตำแหน่งที่ใหญ่กว่ามารังแก… มาอ่านกันว่าเจอแบบนี้มีกฎหมายอะไรคุ้มครองผู้น้อยแบบเราๆบ้าง ?
ก่อนอื่นมารู้จักพฤติกรรม ผู้ใหญ่รังแกผู้น้อยกันว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร…. พฤติกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Power Harassment หรือแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็หมายถึง การข่มเหงรังแกในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การกลั่นแกล้ง การทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่สบายใจ โดยใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ในการงานเป็นเครื่องมือ มีผลให้ผู้ถูกกระทำทำงานด้วยความลำบากกาย ลำบากใจ ถูกมองด้วยสายตาไม่ดีจากผู้ร่วมงานคนอื่น
การดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดอาญา ตามมาตรา 397 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำการให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัล หรือเป็นการทำในลักษณะส่อไปในทางล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง เป็นการกระทำโดยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท”
ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งหมายถึงความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่แม้ผู้กระทำความผิดเองหากกระทำไปโดยไม่เจตนาก็ยังต้องรับโทษ ความผิดลหุโทษนี้เน้นการป้องกันและระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลมิให้ลุกลาม ไม่ให้เกิดการใช้สิทธิของตนที่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อป้องปราบมิให้ความผิดอาญาขยายหนักเกินเหตุจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างบังคับให้ทำงานนอกเหนือลักษณะงานและเวลาทำงาน เป็นเรื่องปกติที่ลูกจ้างจะถูกไล่ออกหรือได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหากพวกเขาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง แม้จะไม่มีเหตุอันสมควรสำหรับคำสั่งดังกล่าว มีสถานการณ์ที่ลูกจ้างได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เกินขอบเขตของสิ่งที่เหมาะสมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง บุคคลที่มีอำนาจไม่ควรได้รับอนุญาตให้ใช้อำนาจในลักษณะการกลั่นแกล้งหรือการเลือกปฏิบัติ สิ่งนี้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่มีความสุขและไม่ปลอดภัย ไม่เพียงแต่สำหรับผู้ที่ถูกคุกคามแต่สำหรับลูกจ้างทั้งหมดด้วย
แน่นอนว่าข้อกฎหมายดังกล่าว มีบัญญัติไว้นานแล้วแต่ในทางปฏิบัติลูกจ้างอาจจะมีอำนาจต่อรองน้อยประกอบกับเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หลายคนเลือกที่จะอดทน… แต่อย่างไรก็ตาม นายจ้างเองก็จำเป็นต้องดูข้อกฎหมายเรามีไว้และอบรมผู้บังคับบัญชาทุกหน่วยงานเพื่อให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ในองค์กร เพราะ หาซื้อลูกจ้างคนไหนเอาจริงขึ้นมาแน่นอนว่าหัวหน้างานคนดังกล่าวก็ต้องได้รับ กับคนที่ตนเองทำและชื่อเสียงองค์กรก็ต้องเสียไปอีกด้วย
previous
ขัดคำสั่งให้ย้ายแผนก ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตาม นายจ้างมีหนังสือเตือนแล้ว ถือเป็นการผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างเลิกจ้างได้ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
next
โครงการสมัครใจลาออก ลูกจ้างควรได้เงินเท่าไหร่นายจ้างควรจ่ายเท่าใด หลายบริษัทเริ่มมีโครงการสมัครใจลาออก มาให้พนักงานพิจารณา ซึ่งเป็นประเด็นคำถามที่ว่าหากประสงค์จะเข้าโครงการสมัครใจลาออกดังกล่าว จะต้องพิจารณาจากเรื่องอะไรบ้าง คลินิกกฎหมายแรงงานขอแนะนำดังนี้ 1. ศาลเคยตัดสินไว้หลายคดีว่า โครงการสมัครใจลาออก หรือ early retire หรือเกษียณอายุก่อนกำหนด ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง แต่กรณีดังกล่าวเป็นการที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงเลิกสัญญา ลูกจ้างจึงไปฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่ายอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายอ้างว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้ เพราะไม่ถือว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง 2. อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ใช่เลิกจ้าง และลูกจ้างไม่ได้ลาออก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การสมัครใจลาออก ทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง มีผลให้ลูกจ้าง หรือผู้ประกันตน "ว่างงาน" ตามกฎหมายประกันสังคม ดังนั้น เมื่อคำนึกถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายประกันสังคม และเจตนาของนายจ้างที่จัดให้มีโครงการก็เพื่อลดคนลง จึงควรให้ลูกจ้างได้รับเงินว่างงานในอัตราเดียวกับกรณีว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง (ไม่ใช่ลาออก) ตามบันทึกสคก.เรื่องเสร็จที่ 940/2555 ส.ค.2555 3.เมื่อลูกจ้างตัดสินใจเข้าโครงการสมัครใจลาออกหรือเกษียณอายุก่อนกำหนดไปแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิ์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และค่าเสียหายอ้างว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก ดังนั้นหาก ลูกจ้างประสงค์เข้าร่วมโครงการดังกล่าวอาจจะต้องพิจารณาในหลายปัจจัย เช่น อายุงานของตนและค่าชดเชยที่อาจจะได้รับในกรณีเลิกจ้าง และก็ต้องพิจารณาในอีกมุมนึงด้วยว่าหากจะขอรับตามอัตราค่าชดเชย ค่าตกใจและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (กรณีเลิกจ้างไม่มีเหตุอันสมควร) ด้วย ว่าบริษัทสามารถจ่ายได้หรือไม่ เพราะเมื่อบริษัทจ่ายไม่ได้ และวันนึงบริษัทไม่อาจแบกรับภาระหนี้สินหรือมีผลประกอบการถดถอยลงไปลูกจ้างก็อาจจะได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้น ในการประกาศโครงการสมัครใจลาออก หรือ early retire หรือ เกษียณก่อนกำหนด นายจ้างจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ลูกจ้างควรจะได้รับด้วย รวมถึงลูกจ้างก็ต้องพิจารณาถึงผลประกอบการและสถานะทางการเงินของบริษัท รวมถึงช่องทางการทำกินอื่นๆประกอบการตัดสินใจด้วยนะครับ ----------💙 ติดต่องานขอทราบค่าบริการ 💬คดีความ 💬ที่ปรึกษากฎหมาย 💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng 💬งานบรรยาย สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ได้เช่นเคยครับ