นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?
การลากิจ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.34 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็นได้ 3 วัน โดยนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างในวันลากิจปีหนึ่งไม่เกิน 3 วัน ทั้งนี้ ตาม.57/1
1.หากนายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?
การที่นายจ้างไม่อนุมัติให้ลากิจ นายจ้างไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่จะมีความผิดเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างลากิจแล้วนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างระหว่างลา เท่านั้น ม.144 (1)
ซึ่งตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิยื่นขอลากิจได้ (ลากิจ คือ กิจธุระที่ลูกจ้างต้องดำเนินการเอง เช่น ทำบัตรประชาชน ทำใบขับขี่ ที่ลูกจ้างไม่สามารถมอบหมายให้คนอื่นไปดำเนินการแทนได้) แต่อำนาจในการอนุมัติ เป็นอำนาจของนายจ้าง ซึ่งระเบียบ ขั้นตอน การอนุมัติ เป็นอย่างไร ก็ต้องบังคับไปตามระเบียบ ข้อบังคับของแต่ละบริษัทนั้น ๆ
หากลูกจ้างมีเหตุลากิจ ตามหลักเกณฑ์ของบริษัทกำหนด เช่น ระเบียบกำหนดว่า “ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นได้ในกรณีต่อไปนี้ 1.ลากิจธุระเพื่อไปจัดทำบัตรประชาชน 2.ลากิจธุระเพื่อไปจัดทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ ฯลฯ” ก็มีสิทธิลาได้ นายจ้างจะไม่อนุมัติไม่ได้
2.หากลูกจ้างมีสิทธิลากิจตามระเบียบ ข้อบังคับ แล้วลูกจ้างมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง?
ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อให้นายจ้างอนุมัติตามระเบีบบฯ หรือ ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ติดต่องานว่าความ ที่ปรึกษากฎหมาย งานบรรยาย inbox เลยครับ
#คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน