ลดตำแหน่งแต่ให้เงินเดือนเท่าเดิม ลูกจ้างมีสิทธิปฎิเสธ
.
ก่อนอื่นต้องบอกว่าการ โยกย้ายตำแหน่งในทางการจ้างเพื่อการบริหารงานนายจ้างสามารถทำได้แต่การโยกย้ายตำแหน่งนั้นก็ต้องไม่เป็นไปในเชิงกลั่นแกล้งหรือโยกย้ายไปในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิม
.
เช่นในฎีกานึง นายจ้างย้ายลูกจ้างในตำแหน่งเลขานุการสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ของบริษัท ซึ่งย้ายพนักงานจากตำแหน่งเลขานุการ ที่เป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็นพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3 จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของลูกจ้างลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิมก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงไม่ใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
.
หรือจะอีกฎีกานึงที่ศาลได้โปรดวินิจฉัยไว้ว่า แม้เป็นการลดตำแหน่งจากหัวหน้า รปภ เป็นรปภ ธรรมดา โดยค่าจ้างเท่าเดิมก็ถือว่าคำสั่งลดตำแหน่งที่ลูกจ้างไม่ยินยอมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ไปทำในหน้าที่ใหม่ก็มีเหตุสมควร จะถือว่าละทิ้งหน้าที่ไม่ได้
(ฎีกาที่ 5073/2546)
.
นอกจากเดือนเงินเดือนแล้วตำแหน่งก็สัมพันธ์สำหรับลูกจ้างหลายๆรายเพราะเป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าในอาชีพ ดังนั้นหากองค์กรมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆก็ควรเรียกลูกจ้างมาคุยและทำความเข้าใจกันให้เรียบร้อยเสียก่อน ใจเขาใจเราเนอะ