นายจ้างสามารถหักเงินค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ “กยศ” ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมก่อน
.
อันนี้เป็นประเด็นที่มีการสอบถามกันใน Open Chat ว่านายจ้างจำเป็นจะต้องขอความยินยอม ก่อนที่จะหักค่าจ้างผู้ชำระหนี้กองทุนกยศ.หรือไม่?? ตอบใน Open แชทไปแล้วแต่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์และยังมีหลายคนที่สงสัยเลยขอเอามาตอบหน้าเพจด้วย
.
ลำดับการหักเงินเดือนกองทุนอยู่ในลำดับ 3 โดย
.
1. ลำดับแรกเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย
2. ลำดับที่ 2 หักกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคม และ
3. ลำดับที่ 3 หักเงินกองทุน กยศ.
โดยกฎหมายกำหนดให้นายจ้างผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องหักค่าจ้างอันเป็นเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อชำระหนี้กู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ ซึ่งถือเป็นการหักเพื่อชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 76 (1) แห่งพรบคุ้มครองแรงงานบริษัทจึงสามารถหักค่าจ้างของลูกจ้างได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน ( ข้อหารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่รอง 0505/2281 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2564)
.
และหากนายจ้างไม่ดำเนินการหัก ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 ได้ระบุให้ นายจ้างจะต้องชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบและต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่นายจ้างยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไปแล้วแต่กรณี