กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานถึงกำหนดเกษียณแล้วแต่นายจ้างยังไม่จ่ายต่อมาลูกจ้างลาออก นายจ้างยังต้องจ่ายค่าเกษียณจะเนียนไม่ได้

5 October 2023
ถึงกำหนดเกษียณแล้วแต่นายจ้างยังไม่จ่ายต่อมาลูกจ้างลาออก นายจ้างยังต้องจ่ายค่าเกษียณจะเนียนไม่ได้
ชื่อว่าหลายๆคนคงเจอกรณีนี้ กับกรณีที่ทำงานมาเรื่อยๆ เมื่อถึงกำหนดการเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือตามกฎหมายกำหนดไว้ แต่นายจ้างมองว่ายังมีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพมากพอที่จะทำงานต่อจึงให้ทำงานต่อไปเรื่อยๆ จนวันนึงลูกจ้างมีความประสงค์จะลาออกอยากไปเลี้ยงหลานเอง แต่นายจ้างกลับบอกว่าอันนี้เป็นการลาออกเองไม่ใช่เกษียณจึงขอไม่ให้ค่าชดเชยกรณีนี้”ไม่ถูกต้อง” เพราะหากใครพูดภาษาชาวบ้านหรือพูดง่ายๆแล้วก็จะเข้าใจได้ว่าเมื่อวันที่เขามี สิทธิ์เกษียณเขาจะต้องได้รับเงินเกษียณอายุแล้วการที่นายจ้างไม่จ่ายก็จะเป็นเรื่องของดอกเบี้ยเพิ่มเติมไปอีก
แล้วต่อมาแม่จะมีการลาออกก็ไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริงที่ว่าลูกจ้างควรจะได้รับเงินเกษียณตั้งแต่อายุ 60 เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นนายจ้างยังคงต้องจ่ายเงินเกษียณให้แก่ลูกจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างลาออกเองไม่ได้ค่ะ
ใครอยากอ่านกฎหมายอ้างอิง ลองพิจารณาตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 6 พ.ศ.2560 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 โดยมาตรา 6 ให้เพิ่มประเด็นต่อไปนี้เป็นมาตรา 118/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
2. ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง
เมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้นั้น นายจ้างทุกคนมีทางเลือกแค่ว่าลูกจ้างของตน มีกำหนดเกษียณอายุหรือไม่และเมื่อไรเท่านั้น เพราะตามกฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจนว่าการเกษียณอายุถือว่าเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ถ้าไม่มีกำหนดเกษียณอายุไว้ก็ถือว่าลูกจ้างนั้นๆ เกษียณอายุที่ 60 ปี สรุปง่ายๆเลยคือ นายจ้างต้องจ้างต่อไปจนลูกจ้างคนนั้นอายุ 60 ปี จึงจะปลดเกษียณ โดยนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างให้กับลูกจ้าง โดยต้องนับอายุการทำงานของลูกจ้างตั้งแต่แต่วันแรกที่เข้ามาทำงานถึงวันที่มีการเลิกจ้างนั่นเอง
โดยกฎหมายแรงงาน ได้กำหนดอัตราค่าชดเชยตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญติคุ้มครองแรงงาน