กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานฝ่าฝืนระเบียบอะไรบ้าง ? ที่ไม่ถือว่าเป็นการร้ายแรง… ต้องตักเตือนก่อน จึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

28 March 2023
ฝ่าฝืนระเบียบอะไรบ้าง ?
ที่ไม่ถือว่าเป็นการร้ายแรง…
ต้องตักเตือนก่อน จึงเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
หลายครั้งที่มีคนสอบถามเข้ามาว่าพฤติกรรมอย่างไรจึงถือว่าร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ถ้าให้ตอบตรงๆก็คือ ต้องมานั่งคุยกันก่อนขอทราบตั้งแต่ ข้อเท็จจริง ระเบียบข้อบังคับของบริษัทผลกระทบ ความเสียหายของนายจ้างหรือบุคลากรรายอื่นๆหรือแม้แต่ชื่อเสียงของนายจ้างก็เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด
แต่เคยอธิบายแบบนี้แล้วก็ปรากฏว่าเกิดความไม่พอใจ ว่าตอบแบยทนายนี่หน่า ไม่ชัดเจนเลย
โว้ยยแก…ก็มันเกี่ยวข้องอ่ะ ฟังแกพิมพ์มา สี่บรรทัดจะให้ตอบเลยแบบฟันธง ก็คงเกินไป..ศาลยังต้องนัดสืบและฟังพยานหลักฐานคู่ความทั้งสองฝ่าย ฉันเป็นใครก่อน อ่านสี่บรรทัดให้ฟันธง..เดี๋ยวเหอะ!!
เพื่อให้เป็นแนวทาง และหยุดวีน วันนี้จึงได้รวบรวม ตัวอย่างการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ไม่ถือเป็นการร้ายแรงและต้องตักเตือนก่อนโดยรวบรวมมาจากหนังสือของอาจารย์พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น ลองอ่านกันนะ
ลูกจ้างขาดประสิทธิภาพในการทำงานหรือมีผลการทำงานที่แย่ไม่ถือเป็นการผิดข้อบังคับร้ายแรงอ้างอิงทำพิพากษามีการที่ 4490/2529
ลูกจ้างมาทำงานสายไม่ถือว่าฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรงเขาพิพากษาศาลฎีกาที่ 3265/2528
ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปกินข้าวเวลา 15 นาทีโดยไม่ปรากฏว่าเกิดความเสียหายแก่นายจ้างไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/25 2525
ลูกจ้างออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือน้อยครั้งครั้งละ 2 ชั่วโมงไม่เป็นความผิดร้ายแรงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2529
ลูกจ้างออกนอกโรงงานไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3900/2529
จากแนวฎีกาหลายๆอันที่ยกตัวอย่างไปก็จะเห็นได้ว่า ความผิดที่ลูกจ้างได้ทำนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับนายจ้างอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าเป็นความผิดอะไรแรงที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจึงจำเป็นจะต้องออกหนังสือเตือนให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของกฎหมายเสียก่อน
แต่ยังไงก็ตามอย่างที่เคยเน้นย้ำไปว่าแนวฎีกาแต่ละฎีกาก็อาจจะมีข้อเท็จจริงแตกต่างกันเช่นสมมุติว่าลูกจ้างแอบออกไปนอกสำนักงานเพียงแค่ 15 นาทีแนวฎีกาอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงแต่หาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ 15 นาทีนั้นทำให้การผลิตชิ้นงานเสียหายแก่นายจ้างเป็นอย่างมากกรณีนี้ก็ถือว่าเป็นการร้ายแรง ดังนั้นถึงต้องบอกว่าดูเป็นพฤติกรรมในแต่ละเรื่องและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนายจ้างด้วย
ฝากไว้ให้คิดดดด