กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานเป็นชู้แต่ในออฟฟิศมีสิทธิ์ถูกไล่ออกหรือไม่ ?

23 January 2023
เป็นชู้แต่ในออฟฟิศ มีสิทธิ์ถูกไล่ออกหรือไม่ ?
ล่าสุดมีน้องๆ HR มาปรึกษาว่า ทราบมาว่าคู่รักคู่หนึ่งในออฟฟิศเป็นชู้กันโดยฝ่ายชายมีครอบครัวอยู่แล้วและฝ่ายหญิงก็มีครอบครัวอยู่แล้วทั้งสองคนเป็นตำแหน่งหัวหน้างานทั้งคู่แบบนี้จะทำให้ลูกน้องไม่เชื่อถือมีผลต่อการปกครองหรือไม่
ในมุมนึงเพื่อน HR ของเราก็ให้ความเห็นว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัวไม่สามารถเลิกจ้างหรือเรียกมาตักเตือนได้แต่ในอีกมุมนึงก็เคยได้ยินแว่วๆมาว่าสามารถเลิกจ้างได้ด้วยเหตุดังกล่าว
วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่ากรณีที่เป็นชู้กันในที่ทำงานเช่นนี้ในเชิงกฎหมายสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่เดี๋ยวมาฟังกันค่ะ
อันดับแรกเลยคงต้องไปดูข้อบังคับของการทำงานว่ามีกำหนดไว้หรือไม่โดยข้อบังคับของการทำงานอาจจะไม่ได้กำหนดไว้ตรงๆเกี่ยวกับการเป็นชู้แต่อาจจะกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางให้พนักงานละเว้นหรือเรียกหลีกเลี่ยงการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงทรัพย์สินและผลประโยชน์หรือการกระทำอันใดที่เป็นการขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงามพนักงานทุกคนจะต้องไม่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวทั้งในเวลางานหรือนอกเวลางาน หากในระเบียบข้อบังคับมีกำหนดไว้เช่นนี้ก็อาจจะเข้าข่ายในฎีกานี้ค่ะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2542 ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ว่าด้วยกฎระเบียบทางวินัย ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้พนักงานละเว้น หรือหลีกเลี่ยงการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ผลประโยชน์ของจำเลย หรือการกระทำอันเป็นการขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงามพนักงานทุกคน จะต้องไม่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ทั้งในหรือนอกเวลาทำงาน ขณะที่อยู่ภายใน หรือนอกสถานที่ทำงาน
ถ้าพนักงานกระทำการใด ที่อาจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง หรือในทางอื่นใดแล้ว
จำเลยย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษตามระเบียบข้อบังคับได้
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลย มีชู้กับพนักงานชายของจำเลย
แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นภายในบริเวณ หรือในเวลาทำงาน
ก็ถือได้ว่า เป็นการไม่รักษาเกียรติ และเป็นการประพฤติชั่ว
ซึ่งเป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง และเป็นที่รู้กันทั่วไป ในหมู่พนักงานของจำเลย การกระทำของโจทก์และชายชู้ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปกครองบังคับบัญชาพนักงานองจำเลย รวมทั้งชื่อเสียงของจำเลยด้วย
การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และกรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์