กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานประเด็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับช่วงทดลองงาน

10 January 2023

ประเด็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับช่วงทดลองงาน
เรื่องการทดลองงานนี้ มีคำถามมาหลากหลายประเด็นทั้งในมุมลูกจ้าง-นายจ้าง ที่น่าจะยังเข้าในผิดกันอยู่ เช่น

1. ระหว่างทดลองงานห้ามลาป่วย

2.ทดลองงานสามารถเลิกจ้างได้เลย โดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า

3.ช่วงทดลองงานห้ามลากิจ หากลามีสิทธิหักเงิน และกับอีกความเข้าใจผิดสุดๆที่ก่อให้เกิดปัญหามากับฝ่ายนายจ้างหลายครั้ง เพราะเข้าใจว่าพนักงานที่อยู่ในช่วงทดลองงานนั้นเป็นพนักงานชั่วคราว

ส่วนคำตอบจะเป็นอย่างไรนั้น ความจริงมีเพียงสิ่งเดียวววเท่านั้นนนน มาดูกัน 🤓🤓

พนักงานทดลองงานนั้นมีฐานะเป็น “ลูกจ้าง” และมีสิทธิได้ผลประโยชน์ตลอดจนความคุ้มครองตามกฏหมายนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน เช่นเดียวกับพนักงานประจำ เช่น

1. ระหว่างทดลองงานลูกจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 )​

ข้อสังเกตุ : แต่อาการเจ็บป่วยบ่อยๆ ลูกจ้างก็ต้องรับทราบด้วยว่า อาจจะมีผลในการประเมินเรื่องสมรรถนะ ความสามารถในการปฎิบัติงานด้วย

2. ถ้าสัญญาจ้างทดลองงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาไว้ แต่เป็นปลายเปิด เช่น เริ่มต้นงานวันไหน และมีช่วงทดลองงาน 119 วัน แต่ไม่ได้บอกวันสิ้นสุด เช่นนี้ ถือเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา ถ้านายจ้างประเมินแล้วว่าความสามารถ ทัศนคติ หรือสมรรถนะของลูกจ้างไม่เหมาะกับการร่วมงาน ก็ต้องบอกล่วงหน้ากับลูกจ้างไม่น้อยกว่าหนึ่งคราวการจ่ายค่าจ้าง ไม่ใช่ว่า 119 วันปุ๊ป ให้ออกเลยนะ แบบนี้ระวังความเสี่ยงจะเสียค่าตกใจเอา

3. ช่วงทดลองงานก็ลากิจได้ โดยหลักการและเหตุผลเดียวกับลาป่วย แต่ไม่ใช่ 30 วันนะ..หลักการเดียวกัน แต่จำนวนวันแตกต่าง โดยการลากิจ มาตรา 57/1 ระบุให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 3 วันนั่นหมายถึงกำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี

ส่วนในมุมมองนายจ้างที่กำลังกังวลอยู่ว่า แล้วแบบนี้จะบริหารการทำงานอย่างไร เพราะลูกจ้างก็มีหลายแบบ น่ารักบ้าง งอแงบ้าง..
ไม่ยากเลยยยยค่ะ อีเมลมาหาเราที่ info@legalclinic.co.th

เพื่อสอบถามราคาค่าบริการในการร่างข้อบังคับ และสัญญาต่างๆ ให้ครอบคลุมครบถ้วน ที่นายจ้างสามารถใช้ได้จริง ไม่ขัดกฎหมาย ไม่เอาเปรียบลูกจ้าง