เลิกจ้างด้วยวาจาก็มีผลตามกฎหมาย
แต่ในการฟ้อง ลูกจ้างจะต้องมีหลักฐาน!!
อย่างที่เคยบอกไปก่อนหน้านี้ว่าสัญญาจ้างแรงงานแม้ไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษรก็ถือว่าเป็นการจ้างกันแล้วการที่ไม่มีสัญญาว่าจ้างไม่ได้ทำให้ไม่เกิด ข้อยกที่ทำให้นายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด
นายจ้างบ้านๆบางคนเข้าใจว่าเมื่อไม่ทำสัญญากฎหมายก็ไม่คุ้มครอง…ท้าทายให้ฟ้อง
บอกเลย..เดี๋ยวจะเจอดี
เพราะฟ้องมาเป็น 20 คดีแล้วมั้งสำหรับการว่าจ้างที่ไม่มีสัญญาจ้างไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนายจ้างหรือลูกจ้างก็ตาม
ฟ้องได้หากมีหลักฐานในการทำงานร่วมกันและหลักฐานการจ่ายค่าจ้าง
เช่นเดียวกันกับการเลิกจ้างที่ลูกจ้างได้มาปรึกษาใน inbox ว่า นายจ้างได้เลิกจ้างด้วยวาจาผ่าน zoom meeting ลูกจ้างจึงไม่ไปทำงาน เพราะถูกเลิกจ้างด้วยวาจาแล้ว
แต่ต่อมานายจ้างกลับออกหนังสือเลิกจ้าง โดยส่งเป็นจดหมายมาที่บ้านว่า “ลูกจ้างขาดงานต่อเนื่องกัน 3 วัน จึงเลิกจ้าง!”
เมื่อลูกจ้างติดต่อสอบถามเข้าไปยังบริษัท กลับได้รับคำตอบว่าที่พูดไปในการประชุมนั้นไม่ได้มีเจตนาไล่ออก เพียงพูดว่า ” กลับมาเก็บของออกไปพี่ไม่สามารถร่วมงานกับคนแบบเธอได้อีก ออกไปหางานใหม่ ที่มันเหมาะกับเธอจะดีกว่า”
เอาจริงๆพูดมาขนาดนี้ใครจะไม่คิดว่าเป็นการไล่ออกบ้าง เพียงแต่การไล่ออกทางวาจานั้นหากไม่มีหลักฐานก็สู้กันในชั้นศาลยากเพราะไม่รู้ว่าตกลงนายจ้างพูดอย่างไรหรือลูกจ้างขาดงานต่อเนื่อง 3 วันหรือไม่ เพราะอะไร
โชคดีที่ในคดีนี้ลูกจ้างได้ อันบันทึกการประชุมไว้จึงมีข้อความทั้งหมดในการประชุมรวมถึงประโยชน์ดังกล่าว ทำให้มีหลักฐานในการฟ้องคดี
ส่วนคดีที่มีการเลิกจ้างไม่วาจานั้นไปอ่านกันได้ที่ฎีกา 4077-4079/2561