กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานนายจ้างลงโทษ ตัดเงินเดือน 10 % ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า ?

11 October 2022
พี่ทนายคะ นายจ้างลงโทษด้วยการตัดเงินเดือน 10 % อ่านหลาย ๆ บทความ เห็นว่าห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง แบบนี้นายจ้างทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่าคะ ?
ตอบ โปรดอ่าน : ถ้าเป็นการลงโทษตามระเบียบ ข้อบังคับกำหนดไว้ นายจ้างก็สามารถทำได้ค่ะ เพราะเป็นเรื่อง การลงโทษ มิใช่เรื่องการหักค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2561 (รัฐวิสาหกิจ) เรื่อง การที่นายจ้างมีคำสั่งลงโทษลูกจ้างเนื่องจากทำผิดระเบียบด้วยการตัดเงินเดือนร้อยละ 10 นั้น กรลงโทษมิใช่เป็นการหักค่าจ้าง แต่เป็นกรณีการลงโทษตามวินัยการทำงานซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตามข้อบังคับของนายจ้าง
​คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งสุดท้ายเป็นนายช่างระดับ 7 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วันที่ 24 เมษายน 2552 จำเลยให้โจทก์ย้ายออกจากบ้านพักโดยอ้างว่าโจทก์มีเรื่องทะเลาะวิวาท แต่โจทก์ไม่ย้ายออกตามคำสั่ง ต่อมาจำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและลงโทษทางวินัยโจทก์ โดยการตัดเงินเดือนร้อยละ 10 ไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน ไม่ได้รับโบนัส ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างและเงินเดือนที่หักไป โบนัส พร้อมดอกเบี้ยศาลแรงงานภาค 2 พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ประเด็นการตัดเงินเดือนร้อยละ 10 ชอบหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 แต่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจออกตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543๓ ซึ่งแม้ว่าตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจข้อ 31 จะบัญญัติห้ามนายจ้างหักคำจ้างลูกจ้างก็ตาม แต่การที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและธรรมเนียมปฏิบัติ ด้วยการตัดเงินเดือนของเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 10 นั้นการลงโทษของจำเลยมิใช่เป็นการหักค่าจ้าง แต่เป็นกรณีการลงโทษตามวินัยการทำงานซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตามข้อบังคับของจำเลย ว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ. 2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1.21) ข้อ 38 (2) และข้อ 40 (4) ไม่ปรากฏว่าเป็นคำสั่งลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย