กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานลาออกกะทันหัน ลูกจ้างมีความผิดหรือไม่ นายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างได้หรือเปล่า ?

6 October 2022
เธออออออ อ่านนะ กับคำถามยอดฮิต
ที่มาถามแล้วเร่งยิกๆ ให้ตอบ แบบนั้นคิดเงินนะ
แต่อันนี้อ่านฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย กับเรื่อง
“ ลาออกกะทันหัน ลูกจ้างมีความผิดหรือไม่ นายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างได้หรือเปล่า ?”
สำหรับการแจ้งขอลาออกหรือการบอกเลิกจ้างนั้น ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
1.หากลูกจ้างลาออกกะทันหันโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ลูกจ้างมีความผิดหรือไม่
ตอบ : ไม่มีความผิด แม้กฎหมายจะกำหนดว่าให้ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า หากลูกจ้างไม่แจ้งลาออกล่วงหน้า กฎหมายก็มิได้บัญญัติกำหนดโทษไว้ ซึ่งการแจ้งลาออกไม่จำเป็นต้องรอให้นายจ้างอนุมัติหรืออนุญาต หากมีการแจ้งแล้วก็มีผลเป็นการลาออก
2.หากลูกจ้างลาออกกะทันหัน โดยไม่แจ้งล่วงหน้า นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างได้ไหม?
ตอบ : นายจ้างไม่สามารถหักเงินค่าจ้างได้ แม้ลูกจ้างจะลาออกกะทันหัน โดยไม่แจ้งล่วงหน้า นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตามกำหนดและตามที่ตกลงกัน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 70) หากนายจ้างไม่ยอมจ่าย ลูกจ้างก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานได้
3.นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง เพราะเหตุลาออกกะทันหัน โดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้หรือไม่?
ตอบ : นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ หากการลาออกกะทันหัน โดยไม่แจ้งล่วงหน้านั้น เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น การที่ลูกจ้างได้รับมอบหมายงานที่สำคัญและไม่ดำเนินการเป็นเหตุให้นายจ้างต้องโดนชำระเบี้ยปรับ หรือถูกยกเลิกออเดอร์ หรือเหตุที่ลูกจ้างลาออก ทำให้นายจ้างไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันเวลา ฯลฯ ดังนี้ นายจ้างก็สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ แต่นายจ้างต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นอย่างชัดเจนเลยว่านายจ้างเสียหายอย่างไร เป็นเงินค่าเสียหายเท่าไหร่ และความเสียหายนั้นต้องเป็นผลกระทบโดยตรงจากการที่ลูกจ้างรายดังกล่าวลาออกกะทันหัน (ฎีกาที่ 10614/2558)