กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานกระทำการอันไม่สมควร “ลงโซเชียล”ขณะใส่เสื้อบริษัท นายจ้างไล่ออกได้มั้ย ?

2 October 2022
กรณีข่าวดังในโลกโซเชียล ที่มีพนักงานรายหนึ่งไลฟ์สด ขณะปฏิบัติหน้าที่ และมีการสวมเครื่องแต่งกายของนายจ้าง ใช้คำสบถ ด่าลูกค้าที่แม๊กเงินมาฝากธนาคาร ทราบว่าขณะนี้ทางธนาคารได้ตรวจสอบ และพบว่าเป็นพนักงานของธนาคารจริง ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสม และไม่เป็นไปตามค่านิยมหลักที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ ธนาคารอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการตามกระบวนการของธนาคารโดยเร็ว
กรณีดังกล่าวนั้น ผู้เขียนมีฟามเห็นว่า
การไลฟ์สดในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น ไม่สมควร หากทางนายจ้างมีกฎระเบียบว่าห้ามเล่นโซเชียลขณะทำงาน ดังนี้ นายจ้างก็มีสิทธิออกหนังสือเตือน หากลูกจ้างผิดซ้ำคำเตือนภายใน 1 ปี นายจ้างก็เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
กับกรณีที่ไลฟ์สดแล้วด่าลูกค้าที่แม๊กเงิน ที่นำมาฝากด้วยยิ่งถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควร นายจ้างอาจบอกเลิกจ้างลูกจ้างได้ ด้วยเหตุเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ป.พ.พ. 583 นายจ้างบอกเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
แต่ถ้าหากลูกค้ามาร้องเรียนพนักงานด้วยเหตุดังกล่าว แล้วแจ้งว่าจะปิดบัญชีเพราะไม่พอใจ แบบนี้ธนาคารผู้เป็นนายจ้างย่อมได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ที่นายจ้างบอกเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ ม.119 (4)
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 17/2560
\\
ส่วนกรณีที่โจทก์เล่นโทรศัพท์ส่งข้อความผ่านโปรแกรมไลน์ในเวลางาน เมื่อกฎระเบียบพนักงานของจำเลย ห้ามเล่นโทรศัพท์ขณะทำงาน เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก ฯลฯ แม้จะมีการพูดคุยในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวปะปนกันก็ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) แต่เป็นกรณีไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือก่อน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุกระทำผิดซ้ำคำเตือน จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
แต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนกฎระเบียบพนักงาน ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่ามีระเบียบดังกล่าว ถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์