เมื่อนายจ้างย้ายสถานประกอบการ หากลูกจ้างไม่ไป ลูกจ้างจะทำอย่างไรได้บ้าง จะถือว่าขัดขืนคำสั่งหรือไม่ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือเปล่า วันนี้เรามาฟังคำตอบกัน
ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ ลูกจ้างมีสิทธิไม่ไปและมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหากว่าการย้ายนั้น
1.กระทบต่อการดำรงชีพของลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างต้องหาที่อยู่ใหม่ ต้องจ่ายค่าเช่า ไม่มีคนดูแลบุตร หรือไม่มีคนดูแลพ่อแม่ ต้องเดินทางไกลขึ้น ใช้เวลาเพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2.หากลูกจ้างไม่ประสงค์ไปทำงานในที่ทำงานใหม่ ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ จึงจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ม.120
แต่ถ้าการย้ายสถานประกอบนั้น ไม่กระทบต่อการดำรงชีพของลูกจ้างแล้วลูกจ้างไม่ไปทำงาน หรือหากกระทบแต่ลูกจ้างก็ไม่ได้แจ้งแก่นายจ้างหรือไม่บอกเลิกสัญญาจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างแจ้งให้ทราบ ดังนี้ ลูกจ้างก็อาจมี “ความผิด” ฐานฝ่าฝืนคำสั่งหรือละทิ้งหน้าที่ โดยนายจ้างอาจเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
3.หากนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน
4.หากคณะกรรมการฯ มีคำสั่งว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างมีสิทธิอุทธรณ์โดยยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 นับแต่วันทราบคำสั่ง
นอกจากนี้ กฎหมายยังได้กำหนดสิทธิ – หน้าที่ ให้นายจ้างต้องปฏิบัติ เช่นกัน
1.นายจ้างต้องปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน
2.ข้อความในประกาศต้องชัดเจนเพียงพอให้ลูกจ้างทราบว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้าย ย้ายไปที่ใด และย้ายเมื่อไหร่
3.หากนายจ้างไม่ปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด
4.ในกรณีที่ลูกจ้างไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน แล้วมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย หากนายจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยต้องวางเงินตามคำสั่งจึงจะฟ้องคดีต่อศาลได้
จะฟ้งจะฟ้องก็ให้นึกถึงบ้างถามฉันตลอดแต่ไม่เลือกฉันเลยบางทีฉันก็น้อยใจนะ