เข้านนี้ขอหยิบยกข่าวที่ว่า คณะกรรมการค่าจ้าง ไฟเขียว ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 ทั่วประเทศ โดยกระทรวงแรงงาน เตรียมสรุปผลเพื่อเสนอต่อ ครม.พิจารณา ให้มีผลใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
**แต่ปัจจุบัน ครม.ยังไม่พิจารณาเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ถ้าหากเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างและผลบังคับใช้ 1 ต.ค. จริงตามข่าวแล้วนั้น (ปัจจุบันใช้ ประกาศฯ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับที่ 10)**
1.นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด หากนายจ้างรายใดจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะต้องปรับค่าจ้างให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามท้องที่ที่สถานประกอบกิจการดำเนินการอยู่ เช่น สถานประกอบการตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดวันละ 331 บาท หากมีประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 353 บาท หลังจากที่มีผลบังคับใช้ นายจ้างจะต้องปรับขึ้นค่าจ้างให้ไม่ต่ำกว่าวันละ 353 บาท หากนายจ้างไม่ยอมจ่าย จะมีโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ
2. หากนายจ้างจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้างมีสิทธิอย่างไร?
ตอบ : ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่ เพื่อสอบสวนและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้างส่วนที่ขาด หรืออาจนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงาน ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิได้ทางใดทางหนึ่งจะใช้สิทธิพร้อมกัน 2 ทางไม่ได้ (ฎีกาที่ 570/2545, 238/2545)
และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ