กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น
เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ ดังนั้น นายจ้างจึงสามารถขยายระยะเวลาทดลองงานออกไปได้เรื่อยๆไม่มีกำหนด โดยไม่ผิดกฎหมายอย่างไรก็ตาม ที่เห็นๆกันว่า บริษัทส่วนใหญ่นิยมกำหนดระยะเวลาทอลองงานไว้ ไม่เกิน 119 วัน นั่นก็เพราะ กฎหมายแรงงาน มาตรา 118 ได้ระบุไว้ว่า หากครบ 120 วันแล้วจะเลิกจ้าง โดยลูกจ้าไม่มีความผิดตาม 119 แห่งพ.ร.บ คุ้มครองแรงงานฯ นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย
ดังนั้น การกำหนดช่วงทดลองไว้ 119 วัน จึงเป็นช่วงเวลาที่นายจ้างเกือบทุกที่ปฏิบัติ เพราะหากพนักงาน ไม่ผ่านทดลองงาน ก็เพียงบอกล่วงหน้าก่อนงวดการจ่ายค่าจ้างถัดไป ก็เลิกจ้างได้เลย โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
มาตรา 119 แห่งพ.ร.บ คุ้มครองแรงงานฯ คือเหตุที่ทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนมาตรา 119 ว่ายังไง อ่านค่ะ!!
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หวังว่าจะได้คำตอบที่ค้างคาใจกันไปบ้างนะคะ
แต้ถ้ามันยังคาใจ ข้างในลึกๆ และอยากได้ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความอย่าลืม info@legalclinic.co.th