ช่วงนี้มีคำถาม inbox เข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับคำถามที่ว่า…
“นายจ้างทำแบบนี้ได้หรือเปล่าคะ??”
“ ออกกฎบังคับแบบนี้ได้ไหม ผิดกฎหมายรึเปล่า??”
“ เขียนระเบียบแบบนี้ บังคับใข้ได้จริงห้รอ??”
วันนี้คลินิกกฎหมายแรงงาน ได้มัดรวม ตัวอย่างข้อสัญญาที่ขัดกับกฎหมาย ที่แม้นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงเซ็นกันไปเรียบร้อย ก็ไม่สามารถบังคับได้ มีอะไรบ้างนั้น เชิญเสพเลยค่ะ (หมายถึงเสพความรู้ ไม่ต้องลุกไปหยิบบุหรี่กันตอนนี้ เข้าใจนะ)
1. ข้อตกลงในสัญญาว่านายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงนี้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน ม.17,118 เป็นโมฆะ (ฎ.569/47)
2. ตกลงในสัญญาว่าให้ลูกจ้างทำงานโดยไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ข้อตกลงนี้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.28 แม่ลูกจ้างเซนตกลงด้วยก็ เป็นโมฆะ (ฎ.7670/47)
3. ข้อตกลงในสัญญาว่าหากลูกจ้างตั้งครรภ์ให้ถือว่าลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง เช่น นายจ้างเป็นบริษัทการบิน ลูกจ้างเป็นแอร์โฮสเตส ตกลงทำสัญญาจ้าง 2 ปี โดยในสัญญาระบุว่า หากพนักงานตั้งครรภ์ให้ถือว่าพนักงานได้บอกเลิกสัญญา ข้อตกลงนี้ขัดต่อพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.43 เป็นโมฆะ (ฎ.1394/49)
4. ข้อตกลงให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยที่ลูกจ้างไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ผลย่อมเป็นโมฆะ (ฎ.2499/37)
5. นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้ลูกจ้างตกลงผลย่อมเป็นโมฆะ (ฎ.1390/37)
6. ข้อตกลงทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ก็เป็นโมฆะ เช่น นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โดยทำสัญญาว่าการทำงานนอกเวลาเป็นการจ้างเหมา รวมจ่ายเป็นเงินเดือนไม่มีค่าล่วงเวลา เป็นการขัดต่อกฎหมาย นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง (ฎ.2537/25)
ด้านฝั่งนายจ้างเองอาจจะเกิดความสงสัยว่าอ้าวก็ลูกจ้างเซ็นรับแล้วนี่เป็นการตกลงร่วมกันทำไมถึงบังคับใช้ไม่ได้ล่ะ?? ในข้อนี้ฝ้ายขออธิบายแบบนี้ค่ะ
เหตุก็เพรากฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย มีลักษณะบังคับ (Jus Cogens) อันเป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญาบางประการของนายจ้างดังนั้น แม้ลูกจ้างจะตกลงทำสัญญาหรือยินยอมทำสัญญาที่ขัดกับกฎหมายแรงงานที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์ของลูกจ้างในภาพรวมก็ไม่สามารถทำได้ ผลย่อมเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 150 (ฎีกาที่ 270/10 ประชุมใหญ่)
ส่วนลูกจ้างที่อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วเกิดคำถามว่า กฎหมายมีไว้ก็ใช้บังคับไม่ได้?? อันนี้ต้องเข้าใจใหม่นะกฎหมายแรงงานที่ว่าไปนี้ “บังคับได้” และอย่าโทษกฎหมายต้องโทษสภาพเศรษฐกิจ และส่วนนึงก็เรื่องของตัวเราเอง เพราะถ้าเรามีทางเลือกที่เยอะขึ้น มีโอกาสช่องทางและลู่ทางในการหาเงินอื่นๆ เราคงไม่อยมถูกเอาเปรียบ
ส่วนหนึ่งที่เราต้องยอม นั่นเป็นเพราะปัจจัยและบริบทรอบรอบตัวเราต่างหาก เช่น วันนี้เราไม่อยากเปลี่ยนงาน แม้จะรู้ว่าถูกเอาเปรียบ อาจเป็นพราะว่างานใหม่อาจจะยังหาไม่ได้ หรือเราเองมีภาระอื่นๆที่จะต้องรับผิดชอบดูแลอีกมาก
แต่อย่างไรก็ตามการรู้กฎหมายไว้มันไม่เสียหลายหรอกอย่างน้อยน้อยก็รู้ว่าตอนนี้บริษัทที่เราทำอยู่เค้าเอาเปรียบเราหรือไม่อย่างไร เพื่อเป็นช่องทางในการหางานใหม่หรือเปิดโอกาสให้ตัวเองในการหารายได้เสริมอื่นๆ เมื่อวันหนึ่งที่เราพร้อมเราก็คงไม่ปล่อยให้เค้าเอาเปรียบเรานานหรอกจริงไหม
ด้วยรักและนิ้วล็อก
สุดท้ายนี้ใครอยากใช้สิทธิทางกฎหมายต้องการทนายความไม่ว่าจะด้านแรงงานหรือด้านอื่นๆก็ติดต่อมาได้ที่ info@legalclinic.co.th