ถ้าพูดถึงโซเชียลแล้ว คงยากที่จะบอกว่าเราจะละเลิกไปได้ เพราะตั้งแต่ลูกเด็กเล็กแดงมายันวัยรุ่นแบบผู้เขียนก็ยังเล่นอยู่ ไม่ว่าจะเพื่อใช้งานหาข้อมูล สั่งซื้อสินค้า ยันอัพเดทข่าวคราวเรื่องชาวบ้าน บางวันใช้งานจนปวดเบ้าตาเลยยังมี
แต่ไม่ว่าจะยังไง การเล่นโซเซียล ควรเอาแต่พอหอมปากหอมคอโดยเฉพาะเวลางาน ซึ่งในวันนี้ทนายหน้ามนคนสวย จะนำเคสตัวอย่างที่ลูกจ้างเล่นโซเชียลแล้วถูกไล่ออกมาแชร์ให้ฟัง ใครอยากรู้ว่าศาลตัดสินอย่างไร เชิญเสพ…(หมายถึงอ่านนะ)
ลูกจ้างใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างเล่นอินเตอร์เน็ต “ พูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ” และ “เกือบทุกวัน” วันละเป็นชั่วโมง นายจ้างจึงไล่ออก ลูกจ้างจึงไปฟ้องเรียกเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คดีนี้ศาลตัดสินว่า ลูกจ้างใช้เวลาทำงาน “ไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน” ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้นายจ้างอย่างเต็มที่ อีกทั้งงานที่ลูกจ้างทำเป็นงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้นจะทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ เป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต “ นายจ้างชอบที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามป.พ.พ. 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ม.17 และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม” … จบข่าว
บางท่านอ่านจบ อาจจะถามว่า แล้วถ้าใช้เพื่อหาข้อมูลในการทำงานหล่ะ…โอ้ยเนาะสู ใครเกิดคำถามนี้วนไปอ่านเครื่องหมายฟูหนัน ที่ทำไว้ในย่อหน้าที่ 3 นะ
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้ เริ่มคิดละว่าจะไม่เล่น…ไม่เล่นให้จับได้ เอาไปนั่งไถตอนเข้าห้องน้ำ อันนี้ระวังสองเรื่อง ระวังนายอยู่ส้วมห้องข้างๆ และอีกอย่างคือระวังริดสีดวง เพราะนั่งนานไปหน่อย นี่เตือนเพราะห่วง ….
เอาเป็นว่าตั้งใจทำงาน เล่นโซเชียลเวลาพักหรือนอกเวลางาน ปลอดภัยสุด ..แล้วจะมาว่าทนายไม่เตือนไม่ได้นะ..ด้วยรักและอยากให้จ้าง..เพราะตารางสค ยังว่างสะอาดอยู่นะคะ
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
คดีความ
ที่ปรึกษากฎหมาย
ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ที่ : info@legalclinic.co.th