“การฟ้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 2 ปี กับ 10 ปี”
เดี๋ยว 2 ปี เดี๋ยว 10 ปี ยังไงเนี่ยทนาย…
หยุด อย่าเพิ่งบ่น อ่านก่อนเพื่อนรัก
อายุความในการฟ้องเรียกเงินบำเหน็จ แยกออกเป็น 2 กรณี
1.เงินบำเหน็จที่เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง เช่น เงินบำเหน็จในการขายสินค้า เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้า ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น เงินประเภทนี้ถือเป็น “สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165( สิทธิเรียกร้องนี้จะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี (ฎีกา 562/2501)
2.เงินบำเหน็จที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง เช่น เงินบำเหน็จในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุออกจากงาน ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เงินประเภทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามีอายุความฟ้องร้องเท่าใด ดังนั้น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (ฎีกา 2261-2264/2523)
ส่วนคำว่าอายุความคืออะไรอันนี้ก็เป็นเดือนที่ต้องรู้นะแถมให้ก็ได้ ….”อายุความ” คือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์ หากปล่อยเนิ่นนาน ไปจนล่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเช่นว่าจะเป็นอันยกขึ้นอ้างอีกมิได้ ซึ่งเรียกว่า “การขาดอายุความ” เช่น สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ คดีขาดอายุความ หนี้ขาดอายุความ เป็นต้น เหตุที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้น ก็เพราะหากปล่อยให้มีการนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานมาฟ้องร้องต่อกันก็ย่อมยุ่งยากในการที่จะต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์แก่กัน เช่น พยานหลักฐานอาจสูญหาย เสื่อมสภาพ บกพร่อง หรือ คลาดเคลื่อนไปตามกาลเวลาได้ ซึ่งจะส่งผลให้การวินิจฉัยข้อพิพาทนั้นไม่อาจเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง
ช่วงนี้ความรู้หนาแน่นหน่อย..อดทนอ่านกันบ่อยบ่อยรับรองไม่เสียสิทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
คดีความ
ที่ปรึกษากฎหมาย
ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ที่ : info@legalclinic.co.th