กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานลาออกหรือเลิกจ้าง บอกแล้วบอกเลย ถ้ายังไม่แน่ใจ อย่าเพิ่งเอ่ย “คำลา”

5 July 2022
ไม่ว่าจะการลาออก หรือ การเลิกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ยื่นใบลาออกต่อนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ด้วยเอกสารแบบฟอร์มบริษัทด้วยกระดาษพิมพ์ขึ้นมาเองด้วยอีเมลหรือด้วยไลน์ หากนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างได้รับทราบแล้ว ถือว่าการแสดงเจตนานั้นสมบูรณ์แล้ว
ในทางกลับกัน เมื่อนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้าง ผู้มีอำนาจ ได้บอกเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ตอนหลังจะเปลี่ยนใจบอกว่า ไม่เลิกจ้างแล้วก็ไม่ได้เช่นกัน
อ้างอิง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 ซึ่งกำหนดว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง” และ วรรคสอง กำหนดว่า “แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่”
และถ้าอยากรู้ว่ามีฏีการองรับไหม ผายมือไปที่ คำวินิจฉัยของศาลฎีกา ที่ 6525/2544 วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นคู่สัญญาแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่ลูกจ้างโดยการเลิกจ้างแล้ว สัญญาจ้างแรงงานย่อมสิ้นสุดลงทันที และ การแสดงเจตนาเลิกสัญญาหาอาจถอนได้ไม่
ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจก็อย่าเพิ่งแสดงเจตนานะคะ ใจเย็นก่อน เช่น กรณีมีแฟนเพจรายนึงที่ปรึกษาว่าตนเองแจ้งลาออกไปในกรุ๊ป LINE แต่ตอนหลังก็ยกเลิกข้อความแล้วมีผลหรือไม่
ถ้าให้ตอบตามจริงคือ “มีผลค่ะ” หากนายจ้างได้อ่านแล้ว
แต่ก็เป็นปัญหาในเรื่องข้อเท็จจริง ว่าเมื่อส่งเข้าไปในกรุ๊ป LINE นายจ้างได้อ่านหรือยัง?? หากอ่านแล้วก็ถือว่าการแสดงเจตนานั้นมีผลแล้ว และการที่นายจ้างยอมรับการลาออกดังกล่าว ไม่ให้คุณทำงานอีกตามวันที่คุณแจ้งสิ้นสุดการทำงาน กรณีนี้ก็ไม่ใช่การเลิกจ้างไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยหรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
💬 VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ที่ : info@legalclinic.co.th