กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานให้พิจารณาตนเองว่า เหมาะสมที่จะอยู่ต่อหรือไม่ แบบนี้เรียกว่า บีบออกหรือเปล่า

4 July 2022
เป็นอีกคำถามที่มีมาปรึกษาอยู่บ่อยครั้งมาก กับประโยคที่ว่า “ให้พิจารณาตนเองว่าเหมาะสมที่จะอยู่ต่อหรือไม่” เพราะนายจ้างเค้าพูดมาซะขนาดนั้นจะให้ทำยังไง ไม่ได้จะลาออกเองสักหน่อย แบบนี้ถือว่าบีบบังคับออกมั้ยคะ ? จะฟ้องเรียกค่าชดเชยได้รึเปล่า ?
สำหรับคำถามนี้ คลินิกกฎหมายแรงงานมีความเห็นดังนี้
การที่จะพิจารณาว่าบีบบังคับให้ออกหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลาย ๆ อย่างประกอบ เช่น เอาหลักง่าย ๆ ก่อนเลย ลูกจ้างจะต้องกระทำความผิดหรือทำงานผิดพลาดอะไรมาสักอย่าง เพราะอยู่ดี ๆ นายจ้างจะเรียกไปคุยว่าให้พิจารณาตนเองก็คงจะไม่ใช่เรื่อง เพราะทุกอย่างมันต้องมีเหตุและผล ถ้าหากว่าลูกจ้างทำงานผิดพลาดจริงแถมยังผิดพลาดบ่อยครั้ง ตักเตือนก็แล้ว ผิดซ้ำมาก็หลายหน นายจ้างจึงเรียกมาคุยเพื่อให้ลูกจ้างพิจารณาตนเองแล้วยื่นในลาออกไปซะ จะได้ไม่เสียประวัติ และเสนอเงินช่วยเหลือให้หนึ่งก้อนโดยให้กลับไปคิดและตัดสินใจ อันนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า “ไม่เป็นการบีบบังคับ” การที่ลูกจ้างลาออกเองในกรณีนี้จึงไม่มีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยและไม่มีสิทธิได้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
หลักในการพิจารณาของศาลเป็นอย่างไร ศึกษาเพิ่มเติมจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาได้ (ฎ.1979/2532,3248/60)
แต่ก็มีบางเคส ที่ผู้เขียนเห็นว่า เป็นการบีบบังคับให้ลาออก เช่น กรณีที่ลูกจ้างทำงานไม่ได้ตามมาตรฐาน ผลงานไม่เป็นที่พอใจ หรือทำยอดขายไม่ได้ตามเป้า จึงเรียกไปคุยและให้พิจารณาตนเอง ถ้าไม่เซนลาออก จะไล่ออกให้ประวัติจะเสีย!!
กรณีนี้ ผู้เขียนเห็นว่า หากนายจ้างเรียกลูกจ้างมาแล้วให้พิจารณาตนเอง ยื่นใบลาออก โดยมีการข่มขู่ บีบบังคับโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ประสงค์จะลาออกเองนั้น การกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการบีบลูกจ้างให้ลาออกได้ เช่นนี้ นายจ้างอาจจะต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือเงินอื่นตามกฎหมายได้!!
ส่วนใครที่ประสงค์จ้างทนายใช้สิทธิตามกฎหมาย ในกรณีต่างๆ
info@legalclinic.co.th
เวลคัมจ้าา
ฝากให้เรา ช่วยดูแล ตื่อดึ๊ดตึดตือดื่อดือ …💙