ดอกจันทน์เก้าสิบดอกกับหัวข้อนี้ เพราะอธิบายมาแล้วหลายครั้ง..ใครที่รู้หัวข้อนี้แล้วข้ามไปเลย ไม่ว่ากัน
ส่วนใครยังไม่รู้มาฟังกันอีกครั้งนึง กับเรื่อง.. “นายจ้างไม่อนุมัติใบลาออก ทำไงดี.”
เกี่ยวกับเรื่องการลาออกนี้มีคำถามหลายคำถามซึ่งทุกคำถามก็จะมาด้วยความกังวลใจ เช่น
– ขอใบลาออกแล้วนายจ้างไม่ให้ทำอย่างไรได้บ้าง??
– นายจ้างยังไม่เซ็นอนุมัติให้เลยแต่กำหนดการเริ่มทำงานที่ใหม่ใกล้เข้ามาแล้วจะทำอย่างไรดี??
– บริษัทกำหนดให้แจ้งลาออกไม่น้อยกว่า 30 วันแต่ต้องการไปเริ่มงานที่ใหม่ทำไงได้บ้าง นายจ้างจะฟ้องมั้ย??
มัดรวมกันไว้ในโพสต์นี้เลยนะ
การลาออกเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของลูกจ้างไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือการอนุมัติจากนายจ้างครับ
แม้การลาออกจะฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างการลาออกก็มีผล (ฎีกาที่6020/2545 ,10161/2551)
อย่างไรก็ตาม การที่ลูกจ้างลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับฯ คำสั่ง ของนายจ้าง เช่น ยื่นใบลาออกทิ้งไว้แล้วออกจากงานไปทันที ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้ เช่น ต้องแจ้งลาออกล่วงอย่างน้อย 30 วัน เป็นต้น
กรณีนี้ ถือว่าลูกจ้างทำผิดตามระเบียบข้อบังคับ ทำผิดสัญญาจ้าง และไม่ปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรค 2 หากการลาออกผิดระเบียบของลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างมีสิทธิฟ้องให้ลูกจ้างรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้และต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการทำผิดสัญญาและกฎหมายของลูกจ้างนั้น ทำให้เกิดความเสียหายจริง ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้างชดใช้ให้นายจ้าง ( ฎีกาที่ 1661/2557) แต่หากพิสูจน์แล้วว่าการผิดสัญญาดังกล่าวของลูกจ้าง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ศาลก็จะไม่กำหนดค่าเสียให้
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
คดีความ
ที่ปรึกษากฎหมาย
ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ที่ : info@legalclinic.co.th