รวมฮิตเมกะแดนซ์ 12 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ “ค่าชดเชย” ใครสงสัยอะไรไปอ่านกันเลย
1.สมัครใจลาออกเองไม่จ่ายค่าชดเชย
2.ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชย
3.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ไม่จ่ายค่าชดเชย
4.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ไม่จ่ายค่าชดเชย
5.ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด ไม่จ่ายค่าชดเชย
6.ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่จ่ายค่าชดเชย
7.ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่จ่ายค่าชดเชย
8. ตกลงเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนด ไม่จ่ายค่าชดเชย
9.ทำงานที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน จ้างไม่เกิน 2 ปีโดยเป็นงานโครงการที่ไม่ใช่ปกติธุรกิจของนายจ้าง หรืองานที่ทำเป็นครั้งคราว หรืองานตามฤดูกาล ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย
10.ค่าชดเชยต้องจ่ายตอนเลิกจ้าง ค้างชำระจะต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ถ้าหากจงใจไม่จ่ายจะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุกๆ 7 วัน
11.ค่าชดเชยผ่อนได้ถ้าลูกจ้างยินยอม
12.การฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยมีอายุความ 10 ปี
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน