กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายครอบครัวกฏหมายแรงงานหากนายจ้างสั่งงงานฉิวเฉียดกับเวลาเลิกงาน หาทางออกกันแบบไหนได้บ้างมาดูกัน

24 October 2021

ในชีวิตปกติเมลงานมาในเวลาฉิวเฉียดใกล้เลิกงานแบบนี้ คือไม่ว่าจะมองมุมไหนก็ต้องนั่งทำหลังเลิกงานให้มันเสร็จ ใครเคยโดนแบบนี้ทำไงกันบ้าง ไหนบอกหน่อย??

กด 1 : เดินเข้าห้องน้ำ ปล่อยเบลอไม่กดอ่าน ค่อยว่ากันวันพรุ่งนี้

กด 2 : ลุยเลยดิฮะ ให้มันเสร็จๆไม่ชอบให้ค้างคา

กด 3 : บ่นเป็นหมี แต่ก็ทำ (เราเป็นข้อนี้)

นอกจากรูปแบบวิธีการทำงาน ของแต่ละคนแล้ว มาดูเรื่องสำคัญกันบ้าง สำหรับพวกที่ กด 2 และ กด 3 ว่าที่ผ่านมาได้ “โอที” หรือ “โอฟรี” กัน 😆

ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้ว พ.ร.บ คุ้มครองแรงงามาตรา 24 วรรคแรกบัญญัติว่า “ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป” บทบัญญัตินึ้จะเห็นได้ว่า นายจ้างไม่ได้มีอิสระ ตามอำเภอใจที่จะกำหนดหรือบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเมื่อใดก็ได้ ” แต่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป ก่อนให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาสำหรับวันนั้นๆ ” เพียงแต่กฎหมายไม่ได้ระบุวิธีการตกลงไว้ ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ดังนั้น การตกลงจะมาแบบ วาจา อีเมล ไลน์ ก็ได้ทั้งนั้น

ด้วยเหตุและปัจจัยข้างต้นใครที่ต้องทำงานล่วงเวลาและต้องทำฟรีบ่อยๆด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่สืบต่อกันมา ว่า บริษัทไม่เคยให้?? เมื่อก่อนก็ไม่เคยจ่าย??

อาจจะลองตอบอีเมล์หรือตอบ LINE หัวหน้าเฮงที่สั่งงานมาว่า
ได้ค่ะ จะเร่งทำส่งให้นะคะ
ขอบคุณที่สนับสนุนค่าล่วงเวลานะคะ
รับรองว่าหัวหน้าเฮงเซอไพรส์แน่นอน 🤭
ส่วนจะได้ไม่ได้เป็นอีกเรื่อง อย่าลืมว่าค่าล่วงเวลามีอายุความ 2 ปี ออกงานไปแล้ว 2 ปียังไม่สายนะคะ

————- 💙

ติดต่องาน
info@legalclinic.co.th

#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิก​กฎหมาย​แรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน

ดูน้อยลง