กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานกำหนดเกษียณของบริษัทกำหนดไว้ให้เกษียณเมื่ออายุ 60 ปีแต่บริษัทรับลูกจ้างทำงานตอนอายุ 62 ปีต่อมาเมื่อลูกจ้างเกษียณตอนอายุ 65 ปี จะได้เงินเกษียณหรือไม่

10 October 2021

จากโพสต์ก่อน how to เกษียณก็มีคำถามดีๆจากแฟนเพจท่านหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์มากๆและเป็นคำถามที่เฉียบและเป็นประโยชน์จนอดไม่ได้ที่จะเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆท่านอื่นได้ศึกษากันนะคะ

คำถามมีอยู่ว่าในกรณีที่บริษัทมีข้อบังคับไว้เรียบร้อยแล้วในเรื่องของการเกษียณอายุว่าให้เกษียณเมื่อ 60 ปีแต่บริษัทได้รับลูกจ้างทั้งที่ลูกจ้างมีอายุ 62 ปี ต่อมาลูกจ้างทำงานไปได้ 3 ปีเมื่ออายุครบ 65 ลูกจ้างเกิดอยากใช้สิทธิ์เกษียณขึ้นมาจึงแจ้งกับนายจ้างเพื่อขอใช้สิทธิ์เกษียณเช่นนี้แล้วลูกจ้างจะสามารถใช้สิทธิ์เกษียณได้หรือไม่เพราะตนเองเข้ามาก็เลยกำหนดอายุเกษียณที่บริษัทตั้งไว้แล้วนายจ้างต้องจ่ายเงินให้อีกหรือไม่ เรามีความเห็นดังนี้ค่ะ

การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนด ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง นั้น จะกำหนดไว้ในสัญญาจ้างหรือในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ได้ ดังนั้น นายจ้างและลูกจ้างให้ถือการเกษียณอายุตามข้อบังคับนั้น เมื่อข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 60 ปี การที่นายรับลูกจ้างที่มีอายุ 62 ปี ซึ่งถือว่ามีอายุครบเกษียณตามข้อบังคับ แสดงว่านายจ้างและลูกจ้างไม่ได้ถือเรื่องเกษียณอายุเป็นสาระสำคัญ

ต่อมาลูกจ้างแจ้งเกษียณจึงถือเป็นการลาออก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

(เทียบเคียง ฎ.478/2551)

ไม่ใช่กรณีที่นายจ้างไม่ได้กำหนดการเกษียณอายุหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี

————- 💙

ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th