นายจ้างลดค่าจ้างโดยพละการ ลูกจ้าง ก็ทราบดีว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจึงทำหนังสือชี้แจงไปแล้วว่าไม่ยินยอม แต่นายจ้างก็ยัง จ่ายเงินเดือนในอัตราที่ลดลง
กรณีเช่นนี้ลูกจ้างไม่ไปทำงานและสามารถเรียกค่าชดเชยได้หรือไม่??
ว่ากันตามหลักกฎหมาย ในกรณีที่นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ยินยอม ลูกจ้างสามารถโต้แย้งได้ โดยในประเด็นเรื่องเงินเดือนที่ลดลงค่าจ้างค้างจ่าย ลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องศาล หรือ ร้องพนักงานตรวจแรงงาน ให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้ แม้ขณะยังเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่
สรุป การ ลดค่าจ้างมิใช่การเลิกจ้าง ตามความหมาย ม.118 ว 2 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างก็ยังมีหน้าที่ไปทำงานให้นายจ้างต่อไป หากไม่ไปก็อาจเป็นการขาดงาน ละทิ้งหน้าที่และหากขาดงานและไม่ไปทำงานติดต่อกัน 3 วันทำงาน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อาจถือเป็นเหตุเลิกจ้างตาม มาตรา 119 (5) ที่ทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ปล. ข้างบนนั่นคือข้อกฎหมายแต่ข้างล่างนี่คือชีวิตจริง ความเห็นของเรานะ การไปฟ้องนายจ้างในขณะที่ยังต้องทำงานร่วมกันอยู่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ เพียงแต่ต้องชั่งใจดีๆ เพราะว่ายังคงต้องร่วมงานกันต่อไป วิธีแก้ไขอาจจะต้องรวมกันไปทุกคนแล้วแจ้งให้นายจ้างทราบ ว่าทุกคนทราบสิทธิและหน้าที่ของตัวเองตามกฎหมายดีแต่เนื่องจากอยากร่วมงานกันต่อไปไม่อยากมีข้อพิพาท จึงอยากขอรบกวนทำงานให้เหมาะสมหรือขอทำงานที่บ้านในบางวันเพื่อลดค่าใช้จ่าย)
หวังว่าสภาพเศรษฐกิจ ในการบริหารบ้านเมืองให้ผ่านวิกฤตนี้ไป จะเป็นไปได้ด้วยดีและโดยเร็ว
เป็นห่วงทุกคนแล้วก็ห่วงตัวเองด้วย ฮือออออ
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th