กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานข้อบังคับบริษัทครอบคลุมไปถึงความประพฤตินอกเวลางาน/นอกสถานที่ทำงานได้หรือไม่?

10 October 2021

เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย และถามเข้ามากันหลายครั้ง ดังนั้น ตั้งใจอ่านนะคะ จะขอตอบรวมหน้าเพจเลย

 

หากว่ากันตามหลักเหตุและผลแล้วนายจ้าง ไม่มีสิทธิ์ออกกฎระเบียบข้อบังคับไปบังคับต่อความประพฤตินอกวันและเวลาทำงานของลูกจ้าง

 

แต่เนื่องจากการทำงานในบางตำแหน่งที่นายจ้าง ได้มอบหมายงานให้ทำนั้นต้องเป็นบุคคลผู้มีความประพฤติดี ไม่ประพฤติชั่วหรือทำตนให้เสื่อมเสีย เช่น ตำแหน่งเกี่ยวกับการให้บริการลูกค้าที่ต้องมีความประพฤติดีไม่มีความเสื่อมเสียมาเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ตัวอย่างฎีกาที่ 5912/2546 ที่ศาลได้มีคำพิพากษาว่า

 

สภาพการทำงานในบริษัทจำเลย พนักงานส่วนใหญ่ต้องใช้มีดเป็นอุปกรณ์ในการทำงาน การเสพยาเสพติดอาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานได้ นอกจากนี้การจำหน่ายยาเสพติดก็เป็นภัยต่อเศรษฐกิจของผู้เสพ อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้น อีกทั้งทำให้ผู้เสพทำงานบกพร่อง ผลงานลดน้อยถอยลงอันมีผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานสถานประกอบการของจำเลยซึ่งมีลูกจ้างจำนวนมากถึง 4,500 คน และบริษัทจำเลยเคร่งครัดไม่ให้พนักงานเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การที่โจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานของพนักงานทั้งเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของจำเลย ถือได้ว่าโจทก์ประพฤติชั่วอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)

 

โทษทางวินัยบางอย่างกำหนดความร้ายแรงได้ในแต่ละตำแหน่งแตกต่างกันไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น การนอนหลับในเวลางาน ซึ่งหากเป็นสายงานการผลิตในโรงงานที่ควบคุมเครื่องจักร นอนหลับในเวลางานอาจจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับทรัพย์สินและอันตรายต่อตัวพนักงานเอง แต่เป็นสายงานสนับสนุนอื่นเช่นฝ่ายบัญชีจะไม่ร้ายแรงเท่า แม้ทำความผิดในลักษณะเดียวกัน

 

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th