กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานลูกจ้างขาดงาน พร่ำเพื่อ เลิกจ้างได้เลยไหม

5 September 2021

คำถามดีมีประเด็นของเราในวันนี้ก็มาสู่คำถามที่ว่าถ้าลูกจ้างคนนึงลาบ่อยๆ ลาเยอะเกินไป ลาเกินสมควรลาพร่ำเพรื่อ เลิกจ้างได้ไหมคะ แล้วต้องจ่ายค่าชดเชยไหม??

ในประเด็นเหล่านี้คลินิกกฎหมายแรงงานจะมาเล่าให้ฟังแบบนี้ค่ะ

ก่อนอื่นต้องมาทบทวนกับคำถามก่อนเลยว่าลาเกินสมควรลาพร่ำเพรื่อ ที่แฟนเพจถามเข้ามาหมายถึงอะไรบ้าง

เพราะตามพรบคุ้มครองแรงงานได้กำหนดสิทธิของลูกจ้างในการลาไว้ตามกฎหมาย แล้วลูกจ้างได้ใช้สิทธิ์นั้นตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น ลาป่วย ลากิจ ลาคลอด หรือ ลาพักร้อน (วันหยุดพักผ่อนประจำปี) ถ้าเป็นการใช้สิทธิ์ดังกล่าวต่อให้ใช้เต็มแม็ก ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ยกตัวอย่าง เช่น

การลาป่วย แม้ว่าลูกจ้างมีสิทธิ ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี(มาตรา 32,57) และมีสิทธิลากิจไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน/ปี โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 3 วัน/ปี (มาตรา 34,57/1)

 

แต่การที่ลูกจ้าง”ลาป่วยบ่อยนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้” ดังเช่น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 1836/2561 ตัดสินไว้ว่า

“การลาป่วยจำนวนมากหลายวันแสดงว่า ลูกจ้างมีสภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ ทั้งการลาป่วยบางครั้งลูกจ้างมิได้ป่วยจริง เป็นการลาป่วยเท็จและจงใจละทิ้งหน้าที่การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวจึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม”

 

ดังนั้น การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมครับ แต่อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวข้างต้น ไม่ถือว่าลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 ที่นายจ้างจะสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 118

 

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า