พูดถึง ค่าตกใจ หลายๆคนจะคิดเสมอว่า
ถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ให้ออกปุ๊บปับมีผลทันทีลูกจ้างจะต้องได้ค่าตกใจ ตกใจเท่ากับ 1 เดือนซึ่งจริงๆแล้วไม่ถูกต้องซะทีเดียว… ไม่ถูกต้องอย่างไรมาฟังที่จะได้อธิบายต่อไปนี้ค่ะ
ค่าตกใจ คำนี้มีที่มาที่ไป พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17/1
บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวน เท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน”
จากข้อกฎหมายดังกล่าว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไปจนถึงวันที่การเลิกจ้างมีผล
เช่น กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ 2 มกราคม 2564 ให้มีผลทันที กรณีนี้การเลิกจ้างจะมีผลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้างไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งไม่ใช่จ่ายแค่ 1 เดือน
ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างได้เตรียมตัว ในการหางานใหม่และโอนถ่ายงานที่ทำมาในจ้างควรบอกกล่าวล่วงหน้านะคะ.. หรือหากจะให้ออกโดยมีผลทันทีก็ต้องตายค่าตกใจตามหลักการที่กล่าวไปข้างต้นค่ะ
——— 💙
ติดต่องานและขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยาย
💬 VISA &WORK PERMIT
Labour.clinique@gmail.com ได้นะคะ