กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานเลิกจ้างเพราะลูกจ้างไปชุมนุมหรือแสดงความเห็นทางการเมือง *ต้องจ่างค่าชดเชยนะ..*

25 July 2021

คำถามนี้คาใจใครหลายคนและมีหลายประเด็นทีเดียว ขอแยกตอบรายประเด็น ดังนี้1.การเข้าชุมนุมทางการเมืองนอกเวลางาน/ในเวลางาน : สำหรับคำถามนี้ ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าการไปชุมนุมสามารถทำได้เนื่องจากเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่ถ้าไปชุมนุมในวันเวลาที่ต้องทำงานตามระเบียบข้อบังคับหรือสภาพการทำงานแล้วย่อมถือว่าเบียดบังเวลางานสามารถออกหนังสือเตือนได้ค่ะ… แต่… ถ้า​นอกเวลางาน ก็เป็นสิทธิส่วนตัวค่ะ บริษัทไม่สามารถละเมิดสิทธิในวันหยุดของลูกจ้าง แต่ถ้าอยากจะไปในช่วงเวลาทำงานก็ใช้สิทธิลาให้ถูกต้องตามระเบียบ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง

2.การโพสข้อความแสดงความเห็นในสื่อสาธารณะ เกี่ยวกับการเมืองหรือสถาบันโดยมีข้อมูลองค์กรในโปรไฟล์ลูกจ้าง : ในเรื่องของการโพสทั้งหลาย แบ่งออกไปหลายองค์ประกอบค่ะ ขึ้นอยู่กับบริบท ข้อความที่โพสนั้นๆด้วย แอดมินไม่สามารถฟันธงให้ได้ แต่ขอให้หลักในการพิจารณา แบบนี้ค่ะ

2.1 กรณีโพสเฟสบุ๊คมีข้อความหมิ่นประมาทนายจ้าง เพื่อนร่วมงานในลักษณะหมิ่นประมาทให้คนอื่นถูกเกลียดชัง ก็ถือว่าเป็นการผิดวินัยร้ายแรงแล้ว (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 73/2562 โดยในคดีนั้นศาลพิจารณาว่าพฤติกรรมการกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ขาดสติยั้งคิด ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่สมควรที่จะทำ) หรือกรณีหากระบายความขับข้องใจ (ด่า) บริษัท ทำให้คนอื่นๆ​ เกิดความเข้าใจผิดว่าบริษัทไม่ดูแลพนักงาน มีการบริการไม่ดี แบบนี้ก็เลิกจ้างได้ (พิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2560)

2.2 กรณีการโพสความคิดเห็น ทั่วไปไม่ได้เกี่ยวกับบริษัท แต่หากทางบริษัทมองว่ากระทบภาพลักษณ์องค์กร เพราะโปรไฟล์ผู้โพสมีรูปองค์กรอยู่หรือมีการระบุการทำงาน ในกรณีนี้​ ต้องไปดูระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของพนักงานค่ะ ว่าระบุไว้มั้ยอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ เพราะข้อบังคับเหมือนเป็นรัฐธรรมนูญบริษัท บางบริษัทจะกำหนดไว้เลยว่าห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำการใดๆที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์องค์กร และหากจะออกใบเตือนหรือเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ ต้องดูด้วยว่าลูกจ้างโพสให้เสียภาพลักษณ์อย่างไร

อย่างไรก็ดีหากไม่มีข้อบังคับหรือไม่ได้กำหนดไว้ การเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในม.118 ค่ะ

สุดท้ายนี้ขอฝากนิดนึงว่า การออกกฎระเบียบยิบย่อยห้ามไปเสียทุกอย่าง จนทำให้พนักงานรู้สึกว่ากำลังถูกละเมิดสิทธิ์อาจเป็นผลเสียในด้านความรู้สึกแก่พนักงาน ดังนั้น​ นอกจากจะออกกฎระเบียบแล้วควรส่งเสริมการเข้าใจร่วมกัน วัฒนธรรมองค์กร รวมถึง การรับฟังความเห็น และหาจุดสมดุลร่วมกัน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะ

————– 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า