กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานรวมฮิต เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก

19 June 2021

มาเรียนรู้หลักกฎหมายแรงงาน พร้อมๆกับภาษาอังกฤษไปด้วยกันกับทนายหวานนะคะ วันนี้ว่าด้วย ประเด็นการลาออกที่หลายคนยังไม่ทราบ มาเริ่มกันเลย

รวมฮิตเรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับการลาออก share เก็บไว้เป็นข้อมูลกันนะ

Today, we will give you an information about top hit issues concerning resignation that you may not know. Please be noticed!

  1. The resignation is a declaration of intention by an employee, whether in verbal or written form, shall be regarded as the termination of employment contract between an employer and an employee. (Supreme Court Judgement No.6048-6051/2546)

 

  1. The declaration of intention for resignation cannot be withdrawn unless the consent given by an employer. The resignation is a unilateral action and it shall become effective at the time of acknowledgement by an employer. An employee thereby cannot withdraw his or her intention without consent given by an employer according to Section 386 of Civil and Commercial Code. (Supreme Court Judgement No.1900/2542)

 

 

  1. Prior to the resignation becomes effective, an employee is still employed by an employer. Therefore, an employer can dismiss an employee due to an offend himself/herself. After an employee submitted a resignation letter and the employer approved it, If the employee violates the work regulations of the employer prior to the period of termination of employment as stipulated in the resignation letter, the employer is entitled to proceed the disciplinary action and dismissal. (Supreme Court Judgement No.1919/2546)

 

  1. An employer requires an employee to leave work before the date stated in the resignation letter is not regarded as a termination of employment contract. The Supreme Court had previously ruled that termimantion of employment contract due to the resignation was not considered a dismissal; provided that the employee is the party who has declared his or her intention to terminate the employment contract first. Even though the employer does agree with it, the employment contract will be terminated on the effective date specified in the resignation letter. Thus, in the event that the employer orders the employee to leave work before the date as the employee wishes without his or her guilty, it results in damage to the employee only not receiving the wages until the effective date specified in the resignation letter. It is however not regarded as a dismissal under the law. (Supreme Court Judgement No.10161/2551)

 

 

  1. An employer requiring an employee to sign a resignation letter in advance is not effective under the law. Requiring by an employer to an employee to sign an empty form of resignation letter is not made so that the employer has the right to dismiss such an employee without severance pay. As a severance pay is a minimum right required by the law, thereby, any act that have been made expressly prohibited by law or is contrary to public order, it shall be void and could not applicable.

 

  1. Resignation is no need the approval from an employer. If the employee resigns without prior notice or fails to complying with the Company’s rules concerning resignation, the employee may be sued by the employer for damages. However, the employer must prove to the court that how did the employer be damaged from such resignation of the employee. (Supreme Court Judgement No. 10614/2558)

 

 

  1. An employee is not entitled to receive the wages in lieu of advance notice, severance pay, and damages for unfair dismissal as a result of receiving this money only for being terminated by an employer without fault.

 

———-💙

— แปล —

1.การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546)

 

2.เมื่อแสดงเจตนาลาออกแล้ว จะถอนไม่ได้ ยกเว้นนายจ้างยินยอม การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวมีผลเมื่ออีกฝ่ายคือนายจ้างและรับทราบการแสดงเจตนานั้นเมื่อแสดงเจตนาลาออกและนายจ้างได้รับทราบเจตนาดังกล่าวแล้วลูกจ้างจะถอนการแสดงเจตนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1900/2542)

 

3.ก่อนการลาออกมีผล ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง หากทำผิดนายจ้างเลิกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกนายจ้างอนุมัติการลาออกแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในใบลาออก หากลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยและเลิกจ้างได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2546)

 

4.นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไร สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง(คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551)

 

5.นายจ้างให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้าไม่มีผลใช้บังคับ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกที่ไม่กรอกข้อความทำขึ้นเพื่อให้นายจ้างมีสิทธิลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นต่ำตามกฎหมาย ถือว่าทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ

 

6.การลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง แต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร (คำพิพากษาฎีกาที่10614/2558)

 

7.เมื่อลูกจ้างลาออก ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ)ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยและไม่ได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เพราะลูกจ้างจะได้รับเงินเหล่านี้ก็ต่อเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ไม่มีความผิดเท่านั้น

 

————- 💙

 

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅คดีความ

✅ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า