ใบเตือนที่ไม่ได้ระบุว่าห้ามทำผิดซ้ำอีก ไม่ถือว่าเป็นใบเตือนที่ชอบด้วยกฎหมาย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีนี้ยังมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่เพราะกฎหมายไม่เป็นธรรม แต่เป็นกรณีผู้ออกใบเตือนไม่ทราบองค์ประกอบของการเตือนที่จะทำให้เกิดผลต่างหาก
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนายจ้างและตัวแทนนายจ้างทั้งหลายที่จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ชัดเจน เพื่อนำมาใช้ให้ถูกต้อง และไม่เสียสิทธิในฝั่งนายจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เจอลูกจ้างที่ไม่น่ารักบางราย ที่พร้อมทำทุกทางที่จะได้เงินจากบริษัท ยกเว้น..ทำงาน
ยกตัวอย่างให้ชัดเจนเลยดีกว่ากับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 694/2562
นายจ้างนำสืบได้ว่าลูกจ้างลาป่วยไม่สุจริต ลาและหยุดงานจำนวนมาก ละทิ้งหน้าที่ เกียจคร้านไม่ทำงาน ออกใบเตือนแจ้งลูกจ้างบอกพฤติกรรมว่าผิดอะไร บรรยายครบ แต่ไม่ได้บอกว่า “ห้ามทำอีก” ในกรณีเช่นนี้ เมื่อมีการทำซ้ำและเลิกจ้าง ศาลได้วินิจฉัยว่า แม้หนังสือเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 (4) จะไม่ได้กำหนดรูปแบบเอาไว้ แต่โดยลักษณะทั่วไปของหนังสือเตือนต้องประกอบไปด้วย
1. ข้อเท็จจริงอย่างพอเพียงที่ทำให้ลูกจ้างทราบว่าตนเองกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในข้อใด
2. ข้อความห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำผิดในเรื่องเดียวกันอีก
ดังนั้น เมื่อพิจารณาใบเตือนของบริษัทแล้วล้วนแต่มีการระบุไว้เฉพาะข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำผิดของลูกจ้างว่า ลาและหยุดงานจำนวนมาก ละทิ้งหน้าที่ เกียจคร้านไม่ทำงาน โดยไม่ปรากฏข้อความเตือนห้ามมิให้ทำซ้ำอีก ถือว่าใบเตือนดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือแจ้งการกระทำผิดให้โจทก์ทราบเท่านั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือตามกฎหมาย การที่จำเลยเลิกจ้างเพราะเหตุดังกล่าวจะยกมาเป็นเหตุไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้
จากตัวอย่างข้างต้น จึงยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่ากระบวนการขั้นตอนในการบริหารแรงงาน และปฏิบัติตามกฎหมายสำคัญเพียงใด และที่สำคัญความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว
ดังนั้น เพื่อให้รู้ชัดในกฎหมายแรงงานและการบริหารการจ้างทำได้ง่ายมากเพียงแค่กดติดตามเพจคลินิกกฎหมายแรงงานและอ่านในทุกวัน เท่านี้ก็ได้เกร็ดความรู้ไว้ใช้งานแล้ว
🏛️ สนใจติดต่องาน ขอทราบค่าบริการ ⚖️
💬 คดีความ
💬 ที่ปรึกษากฎหมาย
💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย/อบรม
💼 in-house training
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@legalclinic.co.th
ช่องทางความรู้อื่นๆสามารถติดตามได้ที่
🌐 https://legalclinic.co.th/
🌐 https://www.youtube.com/labourlawclinic
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
#ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน
#คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #ทนายด้านแรงงาน #HR #เงินเดือน #ลาออก #เลิกจ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #สัญญาจ้าง
#ONLINETRAINING #ไล่ออก #ระบบระเบียบPDPA #PDPA #แรงงาน #กฎหมาย #ประกันสังคม
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME