ความเข้าใจผิดของนายจ้างในช่วงทดลองงาน
เรื่องการทดลองงานนี้ มีคำถามมาหลากหลายประเด็นทั้งในมุมลูกจ้าง นายจ้าง ที่น่าจะยังเข้าใจผิดกันอยู่ เช่น ระหว่างทดลองงานห้ามลาป่วย ทดลองงานสามารถเลิกจ้างได้เลยโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า ช่วงทดลองงานห้ามลากิจ หากลามีสิทธิหักเงิน
อีกความเข้าใจผิดที่ก่อให้เกิดปัญหากับฝ่ายนายจ้างหลายครั้ง เพราะเข้าใจว่าพนักงานที่อยู่ในช่วงทดลองงานนั้นเป็นพนักงานชั่วคราวจะทำอะไรก็ได้
แต่แท้จริงแล้ว พนักงานทดลองงานนั้นมีฐานะเป็น “ลูกจ้าง”
และมีสิทธิได้ผลประโยชน์ ตลอดจนความคุ้มครองตามกฎหมายนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน เช่นเดียวกับพนักงานประจำ เช่น
1. ระหว่างทดลองงานลูกจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32)
ข้อสังเกตุ : แต่อาการเจ็บป่วยบ่อยๆ ลูกจ้างก็ต้องรับทราบด้วยว่า อาจจะมีผล ในการประเมินเรื่องสมรรถนะ ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วย
2. ถ้าสัญญาจ้างทดลองงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาไว้
แต่เป็นปลายเปิด เช่น เริ่มต้นงานวันไหน และมีช่วงทดลองงาน 119 วัน แต่ไม่ได้บอกวันสิ้นสุด เช่นนี้ ถือเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา ถ้านายจ้างประเมินแล้วว่าความสามารถ ทัศนคติ หรือสมรรถนะของลูกจ้างไม่เหมาะกับการร่วมงาน ก็ต้องบอกล่วงหน้ากับลูกจ้างไม่น้อยกว่าหนึ่งคราวการจ่ายค่าจ้าง
ไม่ใช่ว่า 119 วัน ให้ออกทันที แบบนี้ระวังความเสี่ยงอาจเสียค่าตกใจ
3. ช่วงทดลองงานก็ลากิจได้ โดยหลักการ และเหตุผลเดียวกับลาป่วย
โดยการลากิจ ระบุให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 3 วันนั่นหมายถึงกำหนดให้มีสิทธิลาได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี ตามมาตรา 57/1 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ข้อหารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ รง 0504/01333 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2558
คําถาม ? บริษัท กําหนดให้มีการทดลองงานก่อนบรรจุเป็นพนักงานประจํา เมื่อมีการเลิกจ้าง การนับอายุงานเพื่อคํานวณค่าชดเชย และสิทธิได้รับ สวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัท จะนับจากวันที่เริ่มเข้า ทดลองงานหรือนับจากวันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจํา ?
คําตอบ: มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้นิยามคําว่า “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ลูกจ้างตามความหมายดังกล่าว จึงหมายถึงลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่านายจ้างจะเรียกว่า ลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจํา หรือเรียกว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทํางานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางานให้โดยถือว่าสัญญา จ้างแรงงานได้เกิดขึ้นแล้ว สิทธิในฐานะลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเกิดขึ้นทันที แต่สิทธิของลูกจ้างในแต่ละเรื่องจะเกิดขึ้นเมื่อใด จะต้องพิจารณาว่าสิทธิเรื่องนั้นกฎหมายกําหนด ไว้ว่าอย่างไร เช่น การนับงานอายุงานเพื่อพิจารณาสิทธิ์ในการได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างซึ่งทํางาน ติดต่อกัน …”
ดังนั้น การนับอายุงานของลูกจ้างเพื่อพิจารณาถึงสิทธิ์ในเรื่องค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง จึงนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทํางานเป็นต้นไป
สําหรับการนับอายุงานเพื่อคํานวณสิทธิอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสิทธิที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองแรงงาน กรณีดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติในเรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการคํานวณไว้ – เป็นการเฉพาะ ดังนั้น นายจ้างสามารถกําหนดหลักเกณฑ์ในการนับอายุงานเพื่อคํานวณสิทธิดังกล่าว โดยจะกําหนดให้เริ่มนับจากวันที่เริ่มเข้าทดลองงานหรือนับจากวันที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจําของบริษัทก็ได้
🏛️ สนใจติดต่องาน ขอทราบค่าบริการ ⚖️
💬 คดีความ
💬 ที่ปรึกษากฎหมาย
💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย/อบรม
💼 in-house training
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@legalclinic.co.th
ช่องทางความรู้อื่นๆสามารถติดตามได้ที่
🌐 https://legalclinic.co.th/
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
#ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน
#คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #ทนายด้านแรงงาน #HR #เงินเดือน #ลาออก #เลิกจ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #สัญญาจ้าง
#ONLINETRAINING #ไล่ออก #ระบบระเบียบPDPA #PDPA #แรงงาน #กฎหมาย #ประกันสังคม
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME