กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานลูกจ้างทดลองงาน มีสิทธิอย่างไรบ้าง?

13 May 2025
ลูกจ้างทดลองงาน มีสิทธิอย่างไรบ้าง?
 
ในทางกฎหมายคำว่า ลูกจ้าง ไม่ได้มีการแบ่งแยกประเภทว่าเป็นลูกจ้างทดลองงาน หรือลูกจ้างประจำ
ดังนั้นหากพูดถึงเรื่องของสิทธิและความคุ้มครองทางกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถือว่าลูกจ้างทดลองงานเป็นลูกจ้าง ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแรงงานเท่าเทียมลูกจ้างประจำทุกประการ และกฎหมายมีข้อห้ามไม่ให้นายจ้างเลือกปฏิบัติกับลูกจ้าง
เพื่อให้การรับบุคคลเข้าทำงานมีมาตรฐาน และได้คนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน หลายบริษัทจึงกำหนดให้มีช่วงทดลองงานเพื่อให้ลูกจ้างได้พิสูจน์ตนเอง และมีการทำตามข้อตกลงที่ต่างฝ่ายยอมรับกันได้
 
ลูกจ้างที่อยู่ในช่วงทดลองมีฐานะเป็น “ลูกจ้าง” เช่นเดียวกันกับลูกจ้างปกติที่ได้รับการบรรจุแล้ว
มีสิทธิได้ผลประโยชน์และความคุ้มครองตามกฎหมายนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองงาน กฎหมายไม่ได้มีข้อบังคับเกี่ยวกับระยะเวลาการทดลองงานไว้ชัดเจน ทำให้นายจ้างมีสิทธิ์ที่จะกำหนดระยะเวลาการทดลองงานด้วยตนเอง และจะนานเท่าไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยเงื่อนไขการทำงานนี้จะตกลงกันก่อนเริ่มงานจริงหรือหลังเริ่มงานก็ได้
 
ขอสรุปประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการจ้างทดลองงานไว้เป็นข้อได้ ดังนี้
 
1. ระยะเวลาการทดลองงานที่หลายบริษัทกำหนดไว้จะอยู่ในช่วง 90-120 วัน หรือหากครบกำหนดก็อาจมีการขยายเวลาการทดลองงานออกไปอีกก็ได้ตามข้อตกลง
 
2. ระหว่างทดลองงาน 120 วัน นายจ้างควรประเมินการทำงานอย่างเป็นทางการอย่างน้อย 2 ครั้ง และควรดำเนินการก่อนครบกำหนด 120 วัน
 
3. หากดำเนินการช้าเกิน 120 วัน และมีการบอกเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างทดลองงานเช่นเดียวกับลูกจ้างปกติ ตามข้อบังคับมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ
 
4. กรณีลูกจ้างทดลองงานทำงานติดต่อกันต่อเนื่องครบ 120 วันแต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
ลักษณะการเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน
 
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างทดลองงานแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คือ การที่ลูกจ้างได้กระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 อันได้แก่ ทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันสามวันทำงาน ประมาทเลินเล่อ หรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา อย่างน้อยใดอย่างหนึ่ง กรณีนี้ไม่ว่าลูกจ้างจะทดลองงานครบหรือไม่ครบ 120 วัน ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
 
2. กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คือ การที่ลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน เนื่องจากผลงาน คุณสมบัติ หรือความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด หากอายุงานไม่ครบ 120 วัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
 
คำพิพากษาฎีกาที่2364/2545 ระยะเวลาทดลองงานเป็นการจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาฎีกาที่ 6796/2546 สัญญาจ้างที่ระบุว่า ในระยะเวลาทดลองงานนายจ้างมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลของการเลิกจ้าง ขัดต่อ มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีผลใช้บังคับ
 
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 593/2563 เรื่อง “ทำสัญญาจ้าง 1 ปี และมีเงื่อนไขทดลองงาน 90 วัน” ในระยะทดลองงานลูกจ้าง ไม่ได้อุทิศเวลาในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ มิได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขาดความเอาใจใส่งาน ทั้งไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน นายจ้างจึงเลิกจ้างเพราะเหตุไม่ผ่านทดลองงาน อันเป็นเรื่องปกติ ในการบริหารงานบุคคลที่นายจ้างย่อมมีสิทธิคัดสรรแรงงานที่มีคุณภาพที่สุด ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจนกว่าจะครบสัญญาจ้าง และค่าเสียหายจากนายจ้าง
 
🏛️ สนใจติดต่องาน ขอทราบค่าบริการ ⚖️
💬 คดีความ
💬 ที่ปรึกษากฎหมาย
💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย/อบรม
💼 in-house training
 
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@legalclinic.co.th
 
ช่องทางความรู้อื่นๆสามารถติดตามได้ที่
🌐 https://legalclinic.co.th/
 
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
 
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
 
#ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน
#คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #ทนายด้านแรงงาน #HR #เงินเดือน #ลาออก #เลิกจ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #สัญญาจ้าง
#ONLINETRAINING #ไล่ออก #ระบบระเบียบPDPA #PDPA #แรงงาน #กฎหมาย #ประกันสังคม
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME