ลูกจ้างที่ทำงานวันแรงงาน ต้องได้รับค่าแรงอย่างไร
วันหยุดตามประเพณี หมายถึง วันหยุดในวันสำคัญของชาติหรือวันสำคัญในทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีประจำท้องถิ่น เช่น วันหยุดทางศาสนา วันสงกรานต์ เป็นต้น
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติว่า “ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการ ประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
ในกรณีวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป
ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้”
จากหลักกฎหมายดังกล่าวอธิบายได้ ดังนี้
1. วันหยุดตามประเพณีเป็นวันหยุดตามกฎหมายที่นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน
2. ให้นายจ้างพิจารณาจัดให้ตามวันสำคัญทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น (13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ คือ วันที่ 1 พฤษภาคมด้วย)
3. หากวันหยุดตามประเพณีวันไหนไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดอื่นๆ ให้หยุดชดเชยในวันถัดไป
4. ในกรณีที่สภาพงานนั้นๆ ต้องทำติดต่อกันไปหากหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด นายจ้างจะกำหนดให้ลูกจ้างหยุดในวันอื่นที่ไม่ใช่วันสำคัญทางศาสนาหรือวันหยุดตามประเพณีท้องถิ่นหรือจะไม่จัดก็ได้ แต่นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างแทน
ข้อสังเกต: นายจ้างจัดวันหยุดตามประเพณีให้ครบ 13 วันแล้วถือว่านายจ้างปฏิบัติถูกต้องแล้ว ดังนั้นแม้ว่าต่อมาทางราชการจะมีคำสั่งให้มีการหยุดราชการก็ไม่ผูกพันนายจ้างที่จะต้องหยุดตามคำสั่งของทางราชการแต่อย่างใด ซึ่งลูกจ้างทั้งหลายมักจะเข้าใจผิดในเรื่องนี้กัน และแม้ว่านายจ้างอาจให้หยุดตามคำสั่งนั้น นายจ้างก็ชอบที่จะให้ลูกจ้างทำงานชดเชยในวันหยุดตามประเพณีวันอื่น ที่ได้เคยประกาศให้หยุดไปแล้วได้
นายจ้างสามารถกำหนดวันหยุดตามประเพณีได้เองโดยไม่จำเป็นต้องทำความตกลงหรือขอความยินยอมกับลูกจ้าง โดยการกำหนดวันหยุดตามประเพณีกฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้ ดังนั้นแม้ประกาศวันหยุดตามประเพณีของนายจ้างจะไม่มีวันที่ประกาศและไม่มีลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างก็ไม่ทำให้ประกาศนั้นตกเป็นโมฆะ ประกาศเรื่องวันหยุดตามประเพณีมีผลผูกพันลูกจ้างได้
🏛️ สนใจติดต่องาน ขอทราบค่าบริการ ⚖️
💬 คดีความ
💬 ที่ปรึกษากฎหมาย
💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย/อบรม
💼 in-house training
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@legalclinic.co.th
ช่องทางความรู้อื่นๆสามารถติดตามได้ที่
🌐 https://legalclinic.co.th/
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
🌐 https://www.tiktok.com/@labourlawclinic
#ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน
#คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #ทนายด้านแรงงาน #HR #เงินเดือน #ลาออก #เลิกจ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน #สัญญาจ้าง
#ONLINETRAINING #ไล่ออก #ระบบระเบียบPDPA #PDPA #แรงงาน #กฎหมาย #ประกันสังคม
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME