สิทธิลาป่วยเป็นโควต้าหรือไม่
ลาป่วย
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 32 บัญญัติว่า
“ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรอง เว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้
วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้”
และ มาตรา 57 วรรคแรก บัญญัติว่า
“ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน…”
จากบทบัญญัติดังกล่าวอาจวางหลักเกณฑ์ได้ ดังนี้
1) ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน"
ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกจ้างประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแน่นอน ล้วนมีสิทธิลาป่วยได้หมดหากปรากฏว่าเจ็บป่วยจริง
การใช้สิทธิลาป่วย
– เบื้องต้นลูกจ้างจะต้องเจ็บป่วยเสียก่อนจึงจะมีสิทธิลาป่วยได้
– สิทธิลาป่วยไม่ใช่โควต้า ลูกจ้างบางคนเข้าใจผิดว่าตนเองมีสิทธิลาป่วยได้ปีละ 30 วัน ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือไม่ก็มีสิทธิลาป่วยได้ปีละ 30 วัน ดั่งนั้นเมื่อลูกจ้างลาป่วยไปแล้ว 10 วัน ก็คิดว่ายังมีสิทธิลาป่วยเหลืออีก 20 วัน และใช้สิทธิลาได้แม้ว่าไม่ป่วยก็ตาม ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดเพราะตามกฎหมายลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เฉพาะกรณีที่เกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจไม่สามารถมาทำงานให้แก่นายจ้างเท่านั้น เช่น ลูกจ้างเจ็บป่วยมาทำงานไม่ได้ 10 วัน ก็สามารถใช้สิทธิลาป่วยได้เพียง 10 วัน
2) ลาป่วย 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ หากลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะสั่งให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ อย่างไรก็ดี หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ลูกจ้างก็ต้องชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ในบางสถานประกอบการนายจ้างจะจัดให้มีแพทย์ไว้คอยดูแลรักษาลูกจ้างที่เจ็บป่วย นายจ้างอาจกำหนดให้แพทย์ที่ทางนายจ้างจัดไว้เป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์ก็ได้ ใบรับรองแพทย์ที่ลูกจ้างจะใช้ประกอบการลาจะต้องออกโดยแพทย์ที่กำหนดไว้เท่านั้น เว้นเสียแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์ผู้นั้นตรวจและออกใบรับรองได้
ติดต่องาน ขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@clinic.co.th ได้เช่นเคยครับ💬 ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง 💬Thai/Eng
💬 งานบรรยาย
สอบถามค่าบริการได้ทาง info@legalclinic.co.th ได้เช่นเคยครับ
#ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #กฎหมายแรงงาน #วันหยุด #โอที #ot #ค่าจ้าง #ค่าแรง #ค่าทำงาน
#คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน #ทนายด้านแรงงาน #HR #เงินเดือน #เลิกจ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน
#ONLINETRAINING #ไล่ออก #PDPAระบบระเบียบPDPA #PDPA
#กฎหมายแรงงาน #แรงงาน #กฎหมาย #นายจ้าง #ค่าจ้าง #ค่าชดเชย #ประกันสังคม #เงินเดือน
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME