เงินค่าชดเชยห้ามหักภาษี ณ จ่าย
ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าว ต้องทราบก่อนว่าเงินได้ใดที่จะได้รับยกเว้นภาษี??
หากพิจารณาประมวลรัษฎากรมาตรา 42 ที่บัญญัติเรื่องเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนั้น ในอนุมาตรา 17 ของมาตราดังกล่าวระบุว่า “เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง” ให้ได้รับยกเว้นภาษี
และเมื่อพิจารณากฎกระทรวงฉบับที่ 126 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรในข้อที่ 51 ได้ระบุว่าเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (แต่ไม่รวมค่าชดเชยที่ได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง) ในส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนสามร้อยวันสุดท้าย แต่ไม่เกินสามแสนบาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (17)
“ซึ่งก่อนหน้านี้” ค่าชดเชยไม่เกิน 300 วันของค่าจ้าง และไม่เกิน 300,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็น ค่าชดเชยไม่เกิน 400 วันของค่าจ้าง และไม่เกิน 600,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากคุณได้จ่ายภาษีจากค่าชดเชยที่ได้รับยกเว้นตามกฎใหม่นี้ไปแล้ว สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปีนับจากวันสุดท้ายของการยื่นภาษีครั้งนั้น
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(17) , กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118
#มนุษย์เงินเดือน #ลูกจ้าง #hr #คลินิกกฎหมายแรงงาน #มนุษย์เงินเดือนรู้กฎหมาย #ทนายฝ้าย #ทนายฝ้ายกฎหมายแรงงาน