กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กรรมการระวังโทษจำคุก

16 February 2025
ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กรรมการระวังโทษจำคุก

ในช่วงนี้เจอคำถามที่น่าเห็นใจทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ในฝั่งของลูกจ้างก็เป็นคำถามที่ว่า พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับหรือศาลแรงงานมีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่นายจ้างก็ยังเพิกเฉยไม่จ่ายจะทำอย่างไรได้บ้าง ส่วนด้านนายจ้างก็สอบถามว่า ถ้าไม่มีจ่าย จะต้องถูกลงโทษอย่างไร และควรทำอย่างไร

เรามาตอบในฝั่งของลูกจ้างก่อนว่าหากเจ้าพนักงานตรวจแรงงานหรือศาลมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย แล้วนายจ้างไม่จ่ายขั้นตอนต่อไป มีดังนี้

1. เมื่อศาลมีคำพิพากษามาแล้ว ก็ให้รีบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วรีบยึดทรัพย์ของนายจ้างเท่าที่มี เช่น ที่ดิน , เงินฝาก เป็นต้น แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะการยึดทรัพย์นี้ไม่ได้เป็นการเดินเข้าไปหยิบมาได้เลย แต่เป็นการตั้งเรื่องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการดังกล่าว

2.โดยในส่วนคดีอาญา ลูกจ้างในฐานะผู้เสียหายจากการฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินตามสิทธิที่ลูกจ้างมีสิทธิ์จะได้รับ ก็สามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายจ้างได้ พูดง่ายๆก็คือนายจ้างอาจมีโทษทางอาญา กรณีไม่ว่าจะเป็นการค้างชำระค่าจ้าง ค่าชดเชย ซึ่งตรงนี้นอกจากจะเสียค่าจ้างค่าชดเชยแล้วนายจ้างยังต้องถูกเปรียบเทียบปรับหรือจำคุกอีกด้วย และที่สำคัญกรณีที่และนายจ้างยังคงไม่ ให้ความสำคัญโดยไม่ไปตามหมายเรียกเพื่อเปรียบเทียบปรับ ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย พนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวนคดีส่งให้กับพนักงานอัยการจังหวัดฟ้องคดี และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลศาลก็มีอำนาจสั่งนายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย ให้กับลูกจ้าง รวมทั้งสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าปรับหรือจำคุกได้

คราวนี้มาฟังในฝั่งของนายจ้างกันบ้างว่า ถ้ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างหรือศาลมีคำพิพากษาให้ชำระเงินแก่ลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรกันบ้าง

1. ถ้าไม่พอใจไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อให้ศาลมีคำพากษาเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน แต่อย่าลืมว่าในขั้นตอนการยื่นคำฟ้องดังกล่าวต้องวางเงินเท่าจำนวนที่เจ้าพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายจึงจะมีอำนาจฟ้อง

(ในประเด็นนี้มีนายจ้างท่านนึงถามว่าถ้ามีเงินจะคงจ่ายลูกจ้างไปแล้ว ไม่ให้ถึงศาลหรอก แต่มาถึงขั้นนี้ไม่มีเงิน จะทำอย่างไรได้บ้าง)

ในส่วนนี้แนะนำให้เจรจาอย่างเดียวเลยค่ะตกลงร่วมกันไม่ว่าจะเป็นการ ผ่อนจ่าย หรือ แต่ทั้งก้อนแต่ขอลดลงมานิดหน่อยโดยชี้แจงให้ลูกจ้างฟัง ถึงสภาพ เศรษฐกิจเงินทุนหมุนเวียนของนายจ้าง
แล้วทำเป็นบันทึกข้อตกลงร่วมกัน

มาถึงช่วงนี้แล้วเชื่อเหลือเกินว่าหลายคนคงรู้สึกปวดหัวไม่น้อย ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะนายจ้างหรือลูกจ้างที่ต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ ก็ขอให้ทุกคนผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะคะ

และขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ HR ทุกท่านที่อยู่ในฐานะคนกลางต้องประสานงานระหว่างลูกจ้างและทำตามนโยบายนายจ้างด้วย ทนายเข้าใจหัวอกเลยจริงๆ

สนใจติดต่องานจ้างที่ปรึกษา คดีความ งานฝึกอบรม in-house training
สามารถ inbox สอบถามตารางและตารางงานได้เลยค่ะ

#offshore #เบี้ยขยัน #รปภ #สอบสวน #คอรัปชั่น #พักงาน #หนี้สิน #CEO #พนักงานบริษัท #พนักงานประจำ #สัญญาจ้าง #ค่าจ้าง #ค่าชดเชยรายได้ #PartTime #ออฟฟิศ #ฝึกงาน #ทดลองงาน #HR #ลูกจ้างรายวัน #ot #เงินเดือน #เลิกจ้าง #นายจ้าง #บริษัท #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกจ้าง #เจ้านาย #ไล่ออก #ลาออก