จะลาออกต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างจริงเหรอ????
หลายคนยังกังวลว่า หากยื่นลาออกแล้วบริษัทไม่อนุมัติจะทำอย่างไรดี ลาออกต้องใช้แบบฟอร์มบริษัทหรือไม่ กระดาษทั่วไปเขียนเอง อีเมลล์ ไลน์ได้หรือเปล่า วันนี้คลินิกกฎหมายแรงงานมีคำตอบ ดังนี้
การลาออก คือ การบอกเลิกสัญญาจ้างของฝ่ายลูกจ้างต่อนายจ้าง เมื่อแสดงการลาออกต่อนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างโดย นายจ้างได้รับทราบการลาออก สัญญาจ้างก็สิ้นสุดลง ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างกันต่อไป การลาออกลูกจ้างจะทำด้วยวาจา หรือ ทำเป็นหนังสือก็ได้(ฎีกาที่ 10161/2551) ดังนั้น วาจา ไลน์อีเมลล์หรือเป็นหนังสือมีผลหมดค่ะ
อย่างไรตาม หากบริษัทกำหนดว่าต้องได้รับการอนุมัติก่อน แต่ลูกจ้างแจ้งลาออกและออกโดยโดยที่นายจ้างไม่อนุมัติ ก็เป็นเพียงการลาออกที่ผิดระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง ซึ่งหากนายจ้างเกิดความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องได้ แต่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายดังกล่าวด้วย
การลาออกของลูกจ้าง “ไม่ต้อง” ได้รับการอนุมัติจากนายจ้างก่อน การลาออกก็มีผล ทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง แต่เพื่อไม่ให้นายจ้างเกิดความเสียหาย ลูกจ้างควรแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดและส่งมอบงานให้เรียบร้อยนะคะ
มาให้ดีใจไปให้คิดถึงยังไงก็ดีกว่าอยู่แล้วเนอะ
#HR #HR #OT #เงินเดือน #เลิก
จ้าง #PROFESSIONAL #บริษัท
#นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษา
กฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย
#กฎหมายแรงงาน
#ONLINETRAINING #ไล่ออก
#PDPA #PDPA #PDPA
#PDPAระUUระเบียบ PDPA #PDPA
#กฎหมายคุ้มครองป้อง #ปัญหาเกิน
กรอบ #ควบคุม PDPA #กฎหมาย
แรงงาน #แรงงาน #แรงงาน
#กฎหมาย #นายจ้าง #แรงงาน .
#ค่าจ้าง #ค่าชดเชยรายได้
#ประกันสังคม #เงิน
#PARTTIMEJOBS #PARTTIME
#PARTTIME #HR #HR #OT #เงิน
เดือน #เลิกจ้าง #ค่าชดเชย
#วิทยากรอารมณ์ดี #ลูกจ้าง #เจ้า
นาย #แรงงาน #ลาออก