เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยหรือไม่
หลายบริษัทก็จะแยก เงินเดือนออกเป็น ค่าจ้าง ค่าน้ำมัน ค่าตำแหน่ง ค่าโทรศัพท์ จึงมีประเด็นคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วเวลาที่ถูกเลิกจ้าง ค่าชดเชยจะคำนวณจากเงินฐานไหนกันแน่ รวมเงินค่าน้ำมันลดค่าโทรศัพท์หรือไม่
ก่อนที่จะตอบคำถามก็ต้องอธิบายว่า ค่าชดเชยจะนำค่าจ้างในอัตราสุดท้ายมาคำนวณ ตามอายุงาน รายละเอียดไปดูในมาตรา 118 พรบ.แรงงาน
โดยค่าจ้างก็คือเงินที่นายจ้าง “ตกลงจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน” แต่หากจ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น จ่ายเป็นขวัญและกำลังใจเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างปฎิบัติงานตรงเวลา ทุ่มเท ขยัน แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือเงินอื่นๆเช่น ค่าผ่านทางด่วน ค่าที่จอดรถ ที่ให้เป็นครั้งคราวไปแบบนี้ ไม่ถือว่าจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้าง
แต่หากในกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง โดยวิธีเหมาจ่ายให้กับลูกจ้างเป็นประจำเท่ากันทุกเดือน เช่น นายจ้างรายนึงจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้กับลูกจ้างโดยวิธีเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเดือนละ 10,000 บาท เท่ากันทุกเดือนโดยไม่ได้คำนึงว่าลูกจ้างจะจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้จ่ายไปจำนวนมากน้อยแค่ไหน ประกอบกับลูกจ้างก็ไม่ต้องนำใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์มาเป็นหลักฐานในการเบิกด้วยเงินดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือเป็นค่าจ้าง
อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 7402-7403 / 2554
ติดต่องาน
Info@legalclinic.co.th
#เงินเดือน #เลิกจ้าง #สัญญาจ้าง #Professional #บริษัท #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #Onlinetraining #ไล่ออก