การเตือนที่ไม่ได้เตือน!! ตัวอย่างหนังสือเตือนที่ไม่มีผลทางกฎหมาย
อ่าหัวข้อชื่อวันนี้อาจจะนึกถึงเพลงของ Getsunova ซึ่งมันดูย้อนแย้งกันเองมากสำหรับหัวข้อการเตือนที่ไม่ได้เตือน!!
หลายกรณีมากที่ลูกจ้างทำผิดแต่นายจ้างเองไม่มีความเข้าใจในเรื่องการออกหนังสือเตือน เขียนไปอย่างนั้นแหละนานนานออกทีมีผลทางกฎหมายหรือเปล่าไม่รู้ไม่แน่ใจแล้วก็ไม่ได้อยากหาความรู้อะไรเพิ่มเติมด้วยเพราะคิดว่ามันเป็นอำนาจของนายจ้างเตือนแล้วก็เอาออกได้หมดโดยไม่ต้องจ่ายชดเชย กรณีนี้นายจ้างพลาดท่ามานักต่อนักแล้ว เพราะแม้ลูกจ้างจะมีความผิดจริงแต่การเตือนของนายจ้างไม่ได้ครบถ้วนเข้าลักษณะหนังสือเตือน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย!!
มาลองดูฎีกาที่ 694 / 2562 เรื่องนี้เป็นการเตือนที่นายจ้างเตือนโดยระบุเฉพาะข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างลาและหยุดงานเป็นจำนวนมากละทิ้งหน้าที่เกลียดค้านไม่ทำงานแต่ในหนังสือดังกล่าวกลับไม่ปรากฏข้อความเตือนในการห้ามทำความผิดซ้ำอีกจึงเป็นเพียงหนังสือแจ้งการกระทำผิดให้ทราบเท่านั้นไม่เข้าลักษณะหนังสือเตือนการเลิกจ้างนายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชยอยู่
ในกรณีนี้ต้องเรียกได้ว่าตายน้ำตื้นแท้แท้ เพราะลูกจ้างผิดจริงแต่ในหนังสือดังกล่าวไม่ได้มีข้อความเป็นการเตือนเป็นแค่แจ้งการกระทำผิดให้ทราบเท่านั้นไม่เข้าลักษณะหนังสือเตือนตามกฎหมายการนำเพจดังกล่าวมาเลิกจ้างจึงจะยกมาเป็นเหตุไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้
เอาจริงๆหนังสือเตือนไม่ได้ยากมากเลยนะใส่ใจซะหน่อย จะได้ไม่ต้องคิดว่ากฎหมายไม่ช่วยนายจ้าง นายจ้างเองก็ต้องเรียนรู้นะคะลูกจ้างเดี๋ยวนี้เค้ารู้กันไปถึงไหนตอนไหนแล้ว
ส่วนใครที่ต้องการที่ปรึกษางานคดีความหรือหรือบรรยายสามารถติดต่อมาได้ทาง inbox หมือนเดิมนะ
#คลินิกกฎหมายแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #ใบเตือน # หนังสือเตือน