กฎหมายแรงงานมีโทษทางอาญาด้วย !!!
กฎหมายแรงงานได้กำหนดให้ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล และหากการกระทำของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันมีหน้าที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษทางอาญาตามความผิดนั้นด้วย
ซึ่งการกำหนดในลักษณะดังกล่าวใช่ว่าผู้รับผิดชอบจะเป็นตัวนายจ้าง หรือผู้แทนของนายจ้างเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปจะเข้าใจว่า บริษัทและกรรมการบริษัท แต่จริงๆ กฎหมายตีความครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการด้วย ซึ่งอาจจะเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ซึ่งอาจต้องร่วมรับผิดกับนายจ้าง (บริษัท) ด้วย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการกระทำเกิดจากการดำเนินการของผู้จัดการฯ
ความผิดอาญาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่านายจ้างกับลูกจ้างสามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ความผิดอาญาไม่ระงับ นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ดังนี้
1. พนักงานตรวจแรงงานจะมีหนังสือถึงนายจ้างแจ้งข้อกล่าวหาและให้นายจ้างแจ้งความประสงค์เปรียบเทียบปรับ (หากความผิดนั้นสามารถเปรียบเทียบปรับได้)
2. นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเพื่อแจ้งความประสงค์ขอให้ทำการเปรียบเทียบปรับ
3. เจ้าพนักงานตรวจแรงงานจะทำการสอบสวน หากเห็นว่า นายจ้างสมควรจะถูกเปรียบเทียบปรับ เจ้าพนักงานตรวจแรงานจะทำเรื่องเสนอบุคคลดังต่อไปนี้ เพื่อสั่งเปรียบเทียบปรับต่อไป ได้แก่ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำหรับความผิดที่ได้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น
จากประสบการณ์ทำคดี เราพบเจอกรรมการบริษัทหลายบริษัทถูกเรียกเปรียบเทียบปรับจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหลายครั้งต่อหลายครั้ง ดังนั้นหากกรรมการบริษัทคนใดไม่อยากถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ/มีฐานข้อมูลประวัติในคดีอาญา อย่าลืมใส่ใจเรื่องการบริหารงานจ้างให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานให้ดีค่ะ
#hr #HR #ot #เงินเดือน #เลิกจ้าง #Professional #บริษัท #นายจ้าง #ค่าชดเชย #ที่ปรึกษากฎหมาย #ลูกน้อง #ลูกจ้าง #เจ้านาย #กฎหมายแรงงาน
กฏหมายแรงงานกฎหมายแรงงานมีโทษทางอาญาด้วย !!!
11 September 2024