ถ้างานที่ลูกจ้างทำนั้นนายจ้างไม่มีสิทธิเก็บเงินประกัน แต่นายจ้างยังฝ่าฝืนเรียกเก็บเงินประกันโดยหักจากเงินค่าจ้างรายเดือน จะถือเป็นการหักค่าจ้างไม่ชอบด้วยมาตรา 76 หรือไม่
และหากฟ้องคดีต่อศาลจะฟ้องอย่างไร?
1. การที่นายจ้างเรียกเงินประกันการทำงานโดยไม่ว่าจะเรียกเก็บก่อนเข้าทำงานหรือโดยหักจากเงินค่าจ้างของลูกจ้างเป็นรายเดือน จากลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างไม่สามารถเรียกหลักประกันในการทำงานได้นั้น ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม 10 และ ม.76 ที่มีโทษทางอาญา ตาม ม.144 ที่นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันและคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่ลูกจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่3039/2550)
2. ถามว่า เงินที่คืน จะใช้สิทธิเรียกคืนในฐานของ “เงินค่าจ้าง” หรือ “เงินประกัน” ความเห็นของผู้เขียนเห็นว่า เจตนาของนายจ้างคือการหักเงินเพื่อเป็นหลักประกัน หากจะฟ้องก็ต้องฟ้องเรียกคืนในฐานของ “เงินประกัน” โดยลูกจ้างสามารถเรียกคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้ในแต่ละเดือนได้พร้อมดอกเบี้ย (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2544)
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 25 กำหนดให้เงินสะสมของพนักงานหรือลูกจ้างรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ร้านสหกรณ์โดยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ๆ แต่โจทก์เป็นพนักงานทำความสะอาดไม่ใช่งานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้เรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากโจทก์ เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องคืนค่าจ้างที่หักไว้เป็นรายเดือนให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 10
เหตุผลเพราะอะไรนั้น ขอวิเคราะห์ให้เห็นภาพ
หากจะฟ้องเรียกคืนในฐานของเงินค่าจ้างนั้น สามารถฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่หักไว้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 นับแต่วันผิดนัดในแต่ละงวดได้
ข้อสังเกต
1. การฟ้องเงินค่าจ้างนี้ มีอายุความ 10 ปี เพราะเป็นกรณีที่มิได้มีกฎหมายอื่นบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ตาม ม 193/30 (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 1228/2543) มิใช่การฟ้องเรียกค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ ตาม ป.พ.พ. ม193/34 (8)(9) ที่มีอายุความ 2 ปี
2. ประเด็นปัญหาหากนายจ้างหักเงินค่าจ้างตั้งแต่ปี 2550 หากฟ้องคดี ปี 2565 ในฐาน “เงินค่าจ้าง” ก็จะขาดอายุความได้
และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox เพจนะคะ
#มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr