กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานคำถามยอดฮิต พี่ๆรปภ. รวมไว้ในโพสนี้

7 December 2023

คำถามยอดฮิต พี่ๆรปภ. รวมไว้ในโพสนี้

ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงให้เมื่อยความเพราะวันนี้จำร่วมคำถามที่พี่พี่พนักงานรักษาความปลอดภัยถามมากที่สุดเริ่มกันเลยค่ะ

1. เวลาทำงานของ รปภ ต้องทำวันละ กี่ชั่วโมง?
ตอบ : เวลาทำงานของ รปภ ต้องทำวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง แต่เนื่องจากงานรักษาความปลอดภัยเป็นงานบริการ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงทำงานในวันหนึ่งกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง

2. นายจ้างกำหนดให้ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง จะคำนวณค่าจ้างอย่างไร ?
ตอบ : ตำแหน่ง รปภ กฎหมายกำหนดเวลาทำงานวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง หากนายจ้างให้ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน นั้นคือ 4 ชั่วโมง

3. รปภ มีสิทธิได้ OT (ค่าล่วงเวลา) หรือไม่?
ตอบ : “ไม่มีสิทธิ” เพราะตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.65 (9) กฎกระทรวง กำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ได้กำหนดให้งานลูกจ้างที่ไม่ได้ค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ได้แก่ “งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การงานปกติของลูกจ้าง” ซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็เป็นลูกจ้างที่ทำหน้าที่ดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การงานปกติของลูกจ้าง จึงทำให้ รปภ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา **แต่จะได้ค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานแทน**

4. รปภ ทำงานในวันหยุดได้ค่าจ้างอย่างไร?
ตอบ : นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า ตลอดระยะเวลาการทำงานในวันหยุด ม.62″การทำงานในวันหยุด ไม่ใช่การทำงานล่วงเวลาที่ได้รับการยกเว้นตามกฎกระทรวง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 41 ม.65 (9) นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า ตลอดระยะเวลาการทำงานในวันหยุด”
5. หากทำงานล่วงเวลาในวันหยุด คำนวณค่าจ้างอย่างไร?
ตอบ : หากทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะต้องจ่ายค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน โดยคำนวณจากการจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ตามชั่วโมงที่ทำ  2 เท่า (ฎีกาที่  4006/56)

6. นายจ้างเรียกหลักประกันการทำงาน จาก รปภ ได้หรือไม่?
ตอบ : ได้ ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 4 (4)

หวังว่าจะบรรเทาความสงสัย คล้ายข้อขัดข้องใจให้พี่ๆรปภ.นะคะ 💙