เกษียณอายุ แต่จ้างต่อ เลยให้ทำบันทึกข้อตกลงไม่จ่ายค่าชดเชย บันทึกนั้นเป็นโมฆะ
อีกหนึ่งความเข้าใจที่ยังเป็นความเข้าใจผิดที่สร้างความเสียหายทั้งกับนายจ้างและลูกจ้างนั่นก็คือ “เมื่อเซ็นยินยอมเซ็น/บันทึกข้อตกลง/หรือเซ็นสัญญา” สามารถบังคับได้ทุกอย่างในโลก
เช่นเดียวกับกรณีที่ปรึกษาเข้ามานี้ว่านายจ้างบอกว่ายังให้ทำงานต่อได้แต่ต้องทำบันทึกข้อตกลง ไม่รับเงินเกษียณอายุเสียก่อนกรณีนี้ใช้บังคับ ได้ไหมคะพี่ทนายคนสวย อันนี้น้องเขาไม่ได้พูดพูดเอง) หนูอ่านมาจากเพจพี่บอกว่าบังคับใช้ไม่ได้แต่ทางฝ่ายกฎหมายของนายจ้างบอกว่าเซ็นแล้วถือว่าเป็นไปตามนั้น
พี่ฟันธงให้ แบบแม่นยำมากกว่าหมอลักษณ์เพราะว่ามีฎีกา 1352/2551 ข้อกฎหมายรองรับชัดเจนว่าในกรณีนี้ ไม่สามารถบังคับใช้ได้และเป็นโมฆะ ข้อเท็จจริงก็ไม่แทบจะต่างจากของน้องเลยคือ
บันทึกข้อตกลงนี้เขียนเอาไว้ว่าให้บริษัท มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูจ้างขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อที่กฎหมายกำหนดไว้และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่านักกฎหมายที่บริษัทของคุณพ่อน้อง นึกยังไงถึงแนะนำแบบนี้เพราะเสียประโยชน์ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้างถ้าพูดให้ชัดคือเมื่อแนะนำผิดๆนายจ้างก็คิดว่าตัวเองทำได้สิ่งที่นายจ้างก็ต้องเสียก็คือดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เสียชื่อเสียงในการบริหารงาน ส่วนลูกจ้างก็ต้องลำบากลำบนมาศาลอีก
การไม่รู้ไม่ผิด หลายเรื่องเราเองก็ไม่รู้เหมือนกันค่อยๆหาความรู้ไปหาด้วยการอ่านโดยการฟังหรือด้วยการถามแต่อย่างหลังนี่จะทำน้อยที่สุดเพราะว่าถ้าถามเลยก็เหมือนเอาภาระเราไปฝากคนอื่นลองหาความรู้ด้วยตัวเองก่อน เพื่อช่วยบรรเทาความสงสัยของตัวเองเป็นอันดับแรก ชอบเรื่องนี้ข้อกฎหมายบอกไปแล้วข้างบนส่วนความรู้สึก หดหู่ใจคือการที่นักกฎหมายแนะนำอะไรผิดๆแต่ก็อย่างที่บอกแหละการไม่รู้ไม่ผิด แต่ผิดที่ไม่หาความรู้แล้วมาแนะนำ อ่านเเล้วท้อ เฮ้อออ