กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานเงินชดเชย บริษัทแบ่งจ่ายได้หรือไม่?

12 November 2023
เงินชดเชย บริษัทแบ่งจ่ายได้หรือไม่?
.
เชื่อว่าหลายคนยอมรับข้อเสนอการแบ่งจ่ายค่าชดเชยเพราะเห็นใจกันและกันในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ แต่ หากถึงงวดจ่ายแล้วไม่ได้ตามตกลงหล่ะ ไปยังไงต่อนี้ คลินิกกฎหมายแรงงานขอแนะนำสิทธิ เบื้องต้นให้ได้ทราบ ดังนี้
.
1. เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ไม่มีเหตุตาม
พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างตามอัตราที่ระบุไว้ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118
.
2. ตามกฎหมายค่าชดเชยจ่ายวันที่เลิกจ้างและไม่สามารถผ่อนค่าชดเชยเป็นงวด ๆ ได้ มิเช่นนั้นนายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในส่วนที่ค้างจ่ายค่าชดเชย ร้อยละ 15 ต่อปี (ม.9)
.
3. กรณีที่นายจ้างไม่สามารถชำระเต็มจำนวน นายจ้างอาจจะทำข้อตกลงกับลูกจ้างโดยขอผ่อนจ่ายได้(กฎหมายไม่ได้ห้าม) กรณีลูกจ้างทำข้อตกลงโดยในข้อตกลงมีข้อความว่าลูกจ้างยินยอมผ่อนจ่ายค่าชดเชยก็สามารถทำได้ เพราะการตกลงผ่อนจ่ายไม่ใช่ข้อตกลงว่าไม่จ่าย และหากตกลงผ่อนชำระแล้วไม่ชำระตามที่ตกลงกันลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยนั้นได้ (ฎีกาที่ 15780/2555)
.
4. การทำข้อตกลงกับลูกจ้างโดยขอผ่อนจ่ายค่าชดเชยจึงสามารถบังคับกันได้ไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะลูกจ้างมีอิสระในการตัดสินใจ ไม่อยู่ภายใต้ปังคับของนายจ้าง
.
5 ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้หนี้ค่าชดเชยระงับไป กลายเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
.
6. หากนายจ้างไม่ชำระตามสัญญาก็สามารถฟ้องร้องบังคับที่ศาลแรงงานได้ แต่จะไปยืนคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานให้ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายไม่ได้เพราะเงินตามสัญญาดังกล่าวมิใช่เงินตามพรบคุ้มครองแรงงานแล้ว ใครพบปัญหานี้อยู่ ลองอ่านให้จบและทบทวนสิทธิหน้าที่ก่อนไปดำเนินการต่อในส่วนที่เกียวข้องนะคะ