สรุป 10 เรื่องที่ลูกจ้างไม่รู้และต้องรู้
- สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ
2. กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกจ้างทำงานต่อเนื่องการครบ 120 วันและนายจ้างประสงค์เลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118
3. แม้นายจ้างไม่พอใจผลการทดลองงานและต้องการเลิกจ้าง ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เว้นแต่ลูกจ้างทำผิดตาม ม.119
4. ไม่ว่าจะเลิกจ้างด้วยเหตุใดนายจ้างมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่ลูกจ้างและในหนังสือรับรองการทำงานต้องไม่มีข้อความที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
5. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีมีสิทธิลาพักร้อนได้ปีหนึ่งไม่ น้อยกว่า 6 วันทำงาน กรณีนายจ้างประสงค์จะให้มากกว่า 6 วันก็ได้ แต่ให้น้อยกว่าไม่ได้)
6. กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะให้วันลาพักร้อนโดยเฉลี่ยตามสัดส่วนก็ได้
7. การสะสมวันลาพักร้อนเพื่อนำไปใช่ในปีถัดไปเป็นสิทธิที่ นายจ้างจะให้ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้
8. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียก รับ หลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สิน
อื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคล เว้นแต่ สภาพของงานที่ลูกจ้างทำนั้นเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้
เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ เช่น พนักงานบัญชี หรือมีหน้าที่รักษาทรัพย์แทนนายจ้าง เป็นต้น
9. เมื่อสิ้นสุดการจ้าง ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ หากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน ถ้าคืนช้ากว่านั้น นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละ15 ต่อปี
10. กรณีลูกจ้างลาออกไม่บอกล่วงหน้าหรือลาออกกระทันหัน นายจ้างก็ยังต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ตามสัดส่วนวันทำงานที่ได้ทำไปแล้วให้แก่ลูกจ้าง ( ทั้งนี้ นายจ้างเองก็มีสิทธิ์ฟ้องเรียกความเสียหายกับลูกจ้าง แต่ต้องพิสูจน์ได้ว่านายจ้างเสียหายอย่างไร)
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องย้ำเตือนทั้งนายจ้างและลูกจ้าง คือการรู้ถึงสิทธิของตนเพื่อรักษาสิทธิไม่ใช่เพื่อเอาเปรียบกันและกันนะครับ ที่ทำงานก็เหมือนบ้านหลังที่สอง อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ไม่คิดเอาเปรียบกันและกันก็มีความสุขในทุกวัน