กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานบริษัท..ออกข้อบังคับการทำงานว่า “ห้ามพนักเป็นสามีภรรยากัน” ถ้าพบว่าฝ่าผืนจะให้ออก แบบนี้ก็ได้เหรอ ผิดกฎหมายแรงงานมั้ยคะพี่ทนาย?

12 November 2023
บริษัท..ออกข้อบังคับการทำงานว่า “ห้ามพนักเป็นสามีภรรยากัน” ถ้าพบว่าฝ่าผืนจะให้ออก แบบนี้ก็ได้เหรอ ผิดกฎหมายแรงงานมั้ยคะพี่ทนาย??
.
ปัญหานี้เราเคยถามกับตัวเองตอนที่ดูหนังเรื่องATM เออรักเออเร่อ ว่ากฎแบบนี้ตั้งไปเพื่ออะไร??
.
เมื่อได้ทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนมุมมองกับเพื่อนๆฝ่าย HR และผู้ประกอบการ ก็เลยได้ทราบเจตนาที่บริษัทออกข้อห้ามแปลกๆแบบนี้
.
โดยเพื่อนให้คำอธิบายในมุมมองของ HR และผู้ประกอบการว่า
.
1.เคยเจอกรณีที่ สามีภรรยาร่วมด้วยช่วยกันเอื้อความสะดวกในการทุจริต หรือเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
.
2. เจอปัญหาทะเลาะวิวาทความมึนตึงในแผนกจนเพื่อร่วมงานอึดอัด ดังนั้น ใครที่มีสามีหรือภรรยามาสมัคร บริษัทจึงไม่พิจารณาที่จะรับอีกคนเลย หรือเมื่อพบว่าเป็นแฟนกันหรือสมรสกันภายหลังทำงานบริษัทเดียวกัน บริษัทก็จะให้คนใดคนหนึ่งพิจารณาลาออกหรือไล่ออกหรือสิ้นสุดสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะเหตุที่กล่าวไปข้างต้น ไม่ใช่อยากจะขวางทางรักให้บาปกรรมแต่อย่างใด
ซึ่งนั่นเป็นมุมมองของการบริหารพนักงานขององค์กรนั้นๆ แต่ในมุมมองของกฎหมายและผลของการที่บริษัทให้คนใดคนหนึ่งพิจารณาลาออกหรือไล่ออกเนื่องจากกฎดังกล่าว เราขอให้ความเห็นดังนี้ค่ะ
.
1) กรณีพบแล้วไล่ออก !! แม้กำหนดในข้อบังคับบริษัทก็ไม่สามารถไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะการที่พนักงานแต่งงานกับคนในบริษัทเดียวกันไม่ได้เป็นความผิดตามพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 หรือแม้แต่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทว่า “ห้ามแต่งงานหรือเป็นแฟนกับพนักงานในบริษัทเดียวกันหากพบจะถูกไล่ออก”
.
ในความเห็นของเราเรามองว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมควรแก่เหตุ หากเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า (หากให้ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า) รวมไปถึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย
.
ในส่วนความเห็นเรานะ เรื่องรักชอบกันนี่ห้ามกันยากเหมือนเพลงๆนึงที่เราชอบฟัง มันมีท่อนนึงร้องว่า “ห้ามน้ำไม่ไหล ห้ามไฟไม่ให้มีควันห้ามอาทิตย์ห้ามดวงจันทร์ หยุดแค่นั้น ค่อยห้ามดวงใจ”
.
แต่ก็นะ.. บริษัทซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเรามีข้อห้ามไว้แบบนั้น หากเราไปรักชอบใครในบริษัทหรือวางแผนจะตกลงปลงใจกันแล้วอาจจะต้องหาทางออกทางถอยในเรื่องดังกล่าวไว้ หรืออีกทางก็เดินลุยเข้าไปตรงๆเลย แล้วคุยถึงเรื่องค่าชดเชย เพราะเราก็มีความเห็นแบบที่เราบอกไป คือเรื่องนี้ต่อให้มีข้อบังคับไว้หรือต่อให้มีในสัญญาจ้างแต่การรักกันแต่งงานกันก็ไม่ได้เป็นการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างตามมาตรา 119(4) แต่อย่างใด
.
ส่วนทางนายจ้างเอง การออกข้อบังคับ ตราบใดที่ไม่ขัดกับกฎหมาย ไม่กำหนดสิทธิ์ลูกจ้างให้ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็สามารถทำได้แต่อาจจะต้องพินิจพิเคราะห์นิดนึงว่าบางกฎบางข้อบังคับออกมาแล้วบังคับใช้ได้จริงหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมายหรือเปล่า
มีตัวอย่างคำพิพากษาหรือการดำเนินการในทางนั้นหรือไม่ หรือถ้าไม่ออกข้อบังคับแบบนั้น สามารถหลีกเลี่ยงบริหารจัดการกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรบ้าง
.
สุดท้ายนี้ถ้าไม่อยากยุ่งยากในการคิดข้อบังคับหรือต้องการให้ช่วยตรวจร่างข้อบังคับ หรือสัญญาต่างๆก็ขอให้คิดถึงคลีนิคกฎหมายแรงงานสักครั้งถ้ำไม่ได้คิดถึงใคร 💙