นายจ้างประจาน!! ติดประกาศใบเตือนได้หรือไม่?
.
สำหรับคำถามนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1)ทำได้หรือไม่ และ
2)ถ้าทำได้ทำได้แค่ไหน.
.
หากเทียบเคียง ตาม ฎ.2171/2542 เมื่อลูกจ้างกระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน “นายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้ลูกจ้างผู้กระทำผิดวินัยและลูกจ้างอื่นทราบได้”
.
การที่ลูกจ้างผู้กระทำผิดวินัยไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของนายจ้างโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของนายจ้างต้องเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นเอาอย่าง ทำให้นายจ้างไม่ สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
.
จากแนวคำพิพากษาดังกล่าวจึงตอบคำถามว่านายจ้างสามารถติดประกาศหนังสือเตือนได้
.
แต่!! การเขียนหนังสือเตือนก็ควรเป็นไปตามองค์ประกอบหนังสือเตือนและเขียนให้ลูกจ้างเข้าใจได้ถึงการกระทำความผิดพอที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและไม่กระทำซ้ำ แต่ต้องไม่ใช่การ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งการโพสต์ข้อความที่เป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทจะเป็นเรื่องเท็จหรือเรื่องจริงก็ผิด
.
ทราบแบบนี้แล้ว หากนายจ้างต้องการใช้สิทธิ์ ในการบริหารและกำกับระเบียบวินัยพนักงาน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องตรวจสอบถ้อยคำ ให้ชัดเจนและเป็นการป้องกันติดตาม สมควร อย่าพสต์เอาสะใจ มันอาจทำร้ายชีวิตใครมากกว่าที่คิด ในทางตรงกันข้ามหากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างทุจริตและประสงค์ดำเนินคดีก็ให้ใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย อย่าใช้อารมณ์เพราะในกรณีที่ใช้อารมณ์จะมีแต่ความสูญเสียเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย