กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานโอนย้ายนายจ้างใหม่ ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม ถือว่าเลิกจ้าง นายจ้างเดิมต้องจ่ายชดเชย!

12 November 2023
โอนย้ายนายจ้างใหม่ ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม ถือว่าเลิกจ้าง นายจ้างเดิมต้องจ่ายชดเชย!!
.
มีผู้สอบถามว่า บริษัทเก่าเราขาดทุน เลยต้องปิดกิจการ นายจ้างเลยจะโอนเราไปอีกบริษัท เป็นบริษัทเพื่อน บอกว่าไม่อยากให้เราตกงาน แต่เราไม่อยากไปเลยค่ะ เพราะที่ใหม่ไกลมาก เราต้องทำยังไงต่อคะ ลาออก ใช่ไหม แต่ถ้าลาออกจะไม่ได้ค่าชดเชยใช่รึเปล่าคะ??
.
เป็นคำถามที่น่าเอ็นดู และเหตุการณ์ที่น่าเห็นใจทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง เพราะบริษัทเก่าเราขาดทุน นายก็พยายามหางานใหม่ให้ แต่น้องก็ไปลำบาก เอาเป็นว่า วันนี้แจ้งสิทธิตามกฎหมายก่อนแล้วกันเนอะ
.
กรณีโอนย้ายนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง ลูกจ้างต้องตกลงโอเคก่อน หากไม่ตกลง โอนไปบริษัทใหม่ และบริษัทนายจ้างปิดตัวลง ไม่มีงาน ไม่มีเงินให้ ถือว่าเลิกจ้างตามม.118 วรรคสอง ต้งจ่ายค่าชดเชยตามระยะเวลาที่ทำงานมา (ฎ. 6943/2557)
.
กรณีนี้ นายจ้างทำยังไงดี เพร่ะบริษัมก็ปิดตัวเงินทองไม่ค่อยจะมี แถมตามกฎหมายค่าชดเชยจ่ายวันที่เลิกจ้างและไม่สามารถผ่อนค่าชดเชยเป็นงวด ๆ ได้ ไม่งั้นนายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยในส่วนที่ค้างจ่ายค่าชดเชย ร้อยละ 15 ต่อปี (ม.9 แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงานฯ
.
…เว้นแต่… ทั้งสองฝ่ายทำข้อตก ลูกจ้างยินยอมให้ผ่อนก็สามารถทำได้ กล่าวคือ กรณีลูกจ้างทำข้อตกลงโดยในข้อตกลงมีข้อความว่าลูกจ้างยินยอมผ่อนจ่ายค่าชดเชยก็สามารถทำได้ เพราะการตกลงผ่อนจ่ายไม่ใช่ข้อตกลงว่าไม่จ่าย และหากตกลงผ่อนชำระแล้วไม่ชำระตามที่ตกลงกันลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยนั้นได้ (ฎ.15780/2555)