ขั้นการดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง กรณีไม่จ่ายค่าจ้าง
การดำเนินคดีอาญากรณีนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 158 บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใ หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย”
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง กรณีไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ค่ะ
1.ลูกจ้างสามารถยื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานทำการสอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมดว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร และหากพนักงานตรวจแรงงานได้สอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า นายจ้างกระทำความผิดจริง พนักงานตรวจแรงงานก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน
2. หากนายจ้างยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พนักงานตรวจแรงงานจะแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกิดเหตุเพื่อให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำนายจ้าง และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
3.ลูกจ้างสามารถว่าจ้างทนายความ เพื่อดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อศาลอาญา
โดยตรงก็ได้เช่นกัน
ทั้งนี้นั้นทั้ง 2 วิธีดังที่กล่าวมาข้างต้น ลูกจ้างไม่สามารถดำเนินการพร้อมกันทั้ง 2 วิธีได้ ลูกจ้างจะต้องเลือกทำวิธีใดวิธีนึงเท่านั้นนะคะ